doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    23 กันยายน 2559

    740 views

    ฤา จีน…จะเป็นต้นเหตุวิกฤตรอบใหม่?

    พิมพ์หน้านี้

    คอลัมน์:  คุยให้… “คิด”

    ฤา จีน…จะเป็นต้นเหตุวิกฤตรอบใหม่?

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม  มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.CsiSociety.com

    Add Line:  @CsiSociety

    คุณผู้อ่านหลายท่านคงทราบดีว่า  เป็นระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษมาแล้ว ที่จีนได้พลิกหน้าประวัติศาสตร์โลก โดยการทำให้ประเทศมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างแข็งแกร่งและได้พัฒนาแซงหน้ามหาอำนาจทางเศรษฐกิจไปเกือบทุกราย จนก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

    ในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2551-2552  จีนก็ยังได้ออกแพ็คเกจกระตุ้นศรษฐกิจมูลค่าสูงถึง 6 แสนล้านดอลลาร์ (คิดเป็น 13% ของจีดีพีของจีน)  และทำให้จีนสามารถฝ่าฟันวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งนั้นไปได้ นอกจากนั้นจีนยังกลับมาผงาดหลังวิกฤตด้วยอัตราการเจิรญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 10%  สิ่งที่ผ่านมาเหล่านี้ได้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์หลายคนงงงวยถึงความปาฎิหาริย์ที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของจีน โดยได้ตั้งข้อสังเกตดังนี้

    หนึ่ง  ตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีน…รัฐบาลเป็นผู้จัดการแต่เพียงผู้เดียว

    ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกสูงถึง 1.4 พันล้านคน แต่ตัวเลขทางเศรษฐกิจทุกตัวกลับอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐเท่านั้น จีนสามารถประกาศตัวเลขจีดีพีได้ภายในระยะเวลาเพียง 14 วันนับจากสิ้นไตรมาส แต่ตัวเลขที่ประกาศออกมานั้นจะออกโดยทางการ และไม่มีหน่วยงานใดมาพิสูจน์หรือยืนยันว่าตัวเลขที่ออกมานั้นถูกต้อง

    ต่างกับจีนโดยสิ้นเชิง ตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะได้รับการทบทวน 2 ครั้ง โดยในบางครั้งก็มีการแก้ไขตัวเลขหลังจากที่ออกไปแล้ว 90 วัน อีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีนดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือก็คือ ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนมักจะสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลจีน หรือไม่ก็พลาดเป้าไปเพียงเล็กน้อยอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในความเป็นจริงตัวเลขที่พลาดเป้าหรือผิดไปจากที่คาดการณ์ไปมาก มักจะเกิดเกือบทุกประเทศทั่วโลก แต่เหตุการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับจีนเลย

    สอง  ความไม่สอดคล้องของข้อมูลที่ออกมาโดยรัฐบาลจีน

    เหตุการณ์ที่ข้อมูลทางเศรษฐกิจของจีนที่เผยแพร่ออกมาไม่สอดคล้องกัน มักจะได้เห็นกันอยู่บ่อยๆ  หนึ่งในรายงานที่น่าสนใจเป็นของ นิค บัทเลอร์ แห่งหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ ที่เผยแพร่ออกมาเมื่อต้นปีนี้ โดยบัทเลอร์กล่าวถึงตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของจีนออกมาที่ 6.9%  แต่พอลงไปดูในรายละเอียดกลับพบว่า การปริมาณการใช้ไฟฟ้าของจีนกลับเพิ่มขึ้นเพียง 0.5%  ตัวเลขทั้งสองตัวนี้จึงไม่มีความสอดคล้องกันเลย และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นสูงขนาดนี้จะทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

    บัทเลอร์ยังได้หาข้อมูลลึกลงไปกว่านั้นอีกโดยการเช็คปริมาณสินค้าโภคภัณฑ์จากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย อาฟริกา และลาตินอเมริกาที่ส่งออกไปที่จีน เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมของจีน พบว่าตัวเลขปริมาณสินค้าเหล่านี้กลับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงส่อให้เห็นว่า ถ้าจีนนำเข้าวัตถุดิบเหล่านี้ลดลง ก็คงจะผลิตสินค้าขายไปทั่วโลกได้น้อยลง และตัวเลขจีดีพีก็ไม่น่าจะขยายตัวได้ดี

    สาม  รัฐบาลไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจมากเท่าที่ควร

    มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ของจีนซึ่งได้ออกไปแล้วเมื่อปี 2552  มันได้หมดไปนานแล้ว ขณะที่ในเวลานี้เองก็ยังไม่เห็นมาตรการกระตุ้นขนาดใหญ่เหมือนกับญี่ป่นหรือกลุ่มยูโรโซน ออกมาจากทางการจีนเลย ดังนั้นเศรษฐกิจจีนในเวลานี้ เมื่อรัฐบาลไม่ได้ออกมากระตุ้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ภาระจึงไปตกอยู่กับภาคเอกชนของจีนเท่านั้น

    หันไปดูภาคเอกชนของจีนก็จะพบว่า ในบรรดาอุตสาหกรรมที่มีนัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน เช่น เหล็ก ปูนซิเมนต์ สินแร่ที่หายาก พลังงาน และอสังหาริมทรัพย์ นอกจากจะไม่ขยายตัวแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอีกด้วย โดยคาดกันว่าอุตสาหกรรมหลักๆของจีนในเวลานี้น่าจะใช้กำลังการผลิตเพียง 3 ใน 4 ของกำลังการผลิตเท่านั้น ประกอบกับตัวเลขค้าส่งก็ลดลงติดต่อกันมาหลายปีแล้ว สิ่งเหล่านี้ได้ก่อให้เกิด “สภาพเงินฝืด” ครั้งใหญ่ในจีน และทำให้ผู้คนไม่กล้าใช้จ่ายเงินซื้อสินค้า

    สี่  หนี้ก้อนประวัติศาสตร์ของ…ภาคเอกชนจีน

    คุณผู้อ่านหลายท่านคงรู้ดีว่า จีนเป็นประเทศที่มี “เมืองผี” (Ghost Cities) มากที่สุดในโลก โดยการเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์มาเป็นสิบๆปี ก็ทำให้มีการสร้างบ้านสร้างเมืองครั้งใหญ่ขึ้นในจีน โดยคาดการณ์กันว่า ปัจจุบันนี้จีนน่าจะมีบ้านเก่าและบ้านสร้างใหม่รวมแล้วสามารถรองรับผู้คนเข้าไปอยู่อาศัยได้ถึง 3.4 พันล้านคน ในขณะที่จีนมีจำนวนประชากรทั้งประเทศเพียง 1.4 พันล้านคน ทำให้มีที่อยู่อาศัยที่เกินกว่าความต้องการที่จะรองรับผู้อยู่อาศัยได้สูงถึง 2 พันล้านคน

    ที่อยู่อาศัยที่ล้นเกินความต้องการเหล่านี้ ได้กลายมาเป็นต้นเหตุของหนี้เสียก้อนใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาของจีน สิ้นไตรมาสหนึ่งที่ผ่านมา หนี้สินของประเทศจีนทั้งประเทศไต่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 237% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP)  ระดับหนี้ที่สูงมากนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวมากสำหรับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

    ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆอยู่ในขณะนี้ ก็ทำให้นึกถึงศาสตราจารย์ทางกลยุทธ์ชื่อก้องโลก ไมเคิล พอร์ตเตอร์ (Michael Porter)  ที่เคยพูดถึงผู้นำในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไว้ว่า “Good leaders need a positive agenda, not just an agenda of dealing with crisis.”  แปลตามความได้ว่า “ผู้นำที่ดีจะต้องพูดเรื่องที่เป็นบวกให้ได้ ไม่ใช่พูดแต่เรื่องการแก้ปัญหาวิกฤต”

     

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    740 views  Comments

    Posted Under กรุงเทพธุรกิจ

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2495393เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS