doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    18 พฤศจิกายน 2559

    1,334 views

    อยากรวย ต้องเปลี่ยน…“ทัศนคติ”

    พิมพ์หน้านี้

     

    คอลัมน์:  คุยให้… “คิด”

    หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  ฉบับวันที่ 21 ตุลาคม 2559

    อยากรวย ต้องเปลี่ยน…“ทัศนคติ”

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม  มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.CsiSociety.com

    Add Line:  @CsiSociety

    ในชีวิตจริง คุณผู้อ่านหลายท่านคงจะเคยเห็นภาพ “คนจน…ยิ่งจน คนรวย…ยิ่งรวย” กันมาบ้างแล้ว และเหตุการณ์เหล่านั้นก็ดำเนินไปเป็นวัฏจักรให้เราได้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่า โดยผมมีข้อสังเกตในการสนับสนุนความคิดเห็นข้างต้น ดังนี้ครับ

    หนึ่ง  ปรากฎการณ์แมทธิว (Matthew Effect)

    ในเชิงสังคมวิทยามีปรากฎการณ์หนึ่งที่เรียกว่า ปรากฎการณ์แมทธิว (Matthew Effect) โดยทั่วไปปรากฎการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อสังคมเกิดความลำเอียง และไปให้ความเชื่อถือแก่คนหรือเหตุการณ์ที่สังคมคิดว่าจะเป็นเช่นนั้น โดยที่สังคมจะไม่ยอมค้นหาข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้นเสียก่อน

    ในกรณีที่จะต้องใช้ความเชื่อถือ เช่น การหยิบยืมเงิน หรือการกู้เงินจากสถาบันการเงินหรือจากคนที่รู้จัก คนจนก็มักจะถูกกีดกัน หรือหากให้กู้…ก็จะต้องกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก ด้วยเหตุดังกล่าว ก็จะยิ่งทำให้คนจนมีความยากลำบากในการประกอบธุรกิจ และมีต้นทุนในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นไปอีก เมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้น…กำไรก็จะน้อยลง…หรืออาจขาดทุนไปเลยก็เป็นได้ ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้คนจนมีโอกาสที่จะ…ยิ่งจนลงไปอีก

    ในขณะที่คนรวยมักจะได้เครดิตจากสถาบันการเงินและสังคมมากกว่า ทั้งๆที่ในบางครั้งโครงการธุรกิจที่คนรวยอยากจะทำนั้นก็มีความเสี่ยงสูง แต่ด้วยความเชื่อถือของสถาบันการเงินที่มีต่อคนรวยก็ทำให้คนรวยสามารถที่จะกู้เงินไปได้ นอกจากนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่คนรวยได้รับก็มักจะอยู่ในอัตราที่ต่ำ และนั่นเป็นเหตุผลสำหรับคำถามที่ว่า “ทำไม? คนรวย…ยิ่งรวย”

    สอง  ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ (Modern Economics)

    ในสังคมทั่วไปจะมีชนชั้นอยู่ด้วยกัน 3 ชนชั้นคือ ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง ชนชั้นกลางมักจะเป็นชนชั้นที่จะพยายามไข่วคว้าหาทรัพย์สมบัติและอำนาจ เพื่อที่จะถีบตัวเองขึ้นมาเป็นชนชั้นสูงให้ได้ แต่ด้วยระบบทุนนิยมที่เกิดขึ้น…ก็จะทำให้เกิดสภาพการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรง และนำไปสู่การแข่งขันทางการค้าที่ไม่ยุติธรรม …มีการกีดกันทางการค้า …มีการกีดกันการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ และอื่นๆ

    ผลสุดท้าย…ที่ออกมามักจะพบว่า กิจการของพ่อค้ารายเล็กมักจะประสบกับปัญหาการล้มละลาย ตามมาด้วยการเข้าครอบครองกิจการโดยพ่อค้ารายใหญ่…ครั้งแล้ว…ครั้งเล่า ในที่สุดก็จะทำให้สังคมแปรเปลี่ยนไป และชนชั้นกลางก็จะค่อยๆหายไปจากสังคม เหลือไว้แต่เพียงชนชั้นสูง…และชนชั้นต่ำ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ในสังคมก็จะเหลือเพียงแต่…คนรวย…และคนจนเท่านั้น

    สาม  ทัศนคติในการจัดการเรื่องเงินของ…คนจน

    คนจนมักจะมีแนวความคิดในการจัดการเรื่องเงินที่แตกต่างจากคนรวย โดยเมื่อคนจนได้เงินมาแล้ว พวกเขามักจะคิดถึงแต่วิธีการที่จะจ่ายหนี้สินต่างๆ เช่น วิธีการที่จะจ่ายบัตรเครดิต..ใบแจ้งหนี้..และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย

    หลังจากที่พวกเขาได้จ่ายหนี้สินต่างๆไปหมดแล้ว พวกเขาก็มักจะไม่เหลือเงินเอาไว้เก็บออมเลย ดังนั้นสิ่งที่พวกเขาคิดจะทำต่อไปก็คือ จะหาเงินอย่างไรต่อไปล่ะ? เพื่อที่จะมาจ่ายหนี้สินที่กำลังจะมาอีกในเวลาอันใกล้นี้

    คนจนมักจะมีทัศนคติที่ว่า  เมื่อคนจนมีรายได้ไม่ว่าจะมาจากเงินเดือนหรือรายได้เสริมนั้น หลังจากมีเงินเข้ามาแล้ว…คนจนก็มักจะใช้จ่ายไปกับสิ่งของที่จำเป็นและสิ่งของที่ไม่จำเป็น…จนเงินหมด ทำให้เงินออมมีค่าเป็นศูนย์หรือบางเดือนติดลบ จากนั้นก็จะมีค่าใช้จ่ายใหม่ๆเข้ามาเรื่อยๆ บีบบังคับให้คนจนต้องรีบขวนขวายหารายได้ใหม่หรือกู้หนี้ยืมสินเพื่อนำมาใช้จ่าย ในที่สุดก็กลายเป็นวัฏจักร ซึ่งอาจเรียกวัฏจักรนี้ว่า  “วัฏจักรแห่ง…ความจนดักดาน”

    สี่  ทำไม?  คนรวย…ยิ่งรวย

    ทัศนคติที่แทบจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงของคนรวย ก็ได้ทำให้คนรวยสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองได้อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้คนรวยมีแนวโน้มที่จะยิ่งรวยขึ้นไปอีก โดยทัศนคติที่สำคัญที่สุดของคนรวยก็คือ “ความคิดที่อยากจะเก็บออม”

    เนื่องจากคนรวยมักจะมีความสุขที่ได้…อยู่กับความมั่งคั่ง …อยู่กับการที่มีเงินอยู่กับตนเป็นจำนวนมาก …อยู่กับความมั่นคงในการดำเนินชีวิต สิ่งเหล่านี้ทำให้คนรวย…ชอบที่จะแสวงหาความร่ำรวยอยู่ร่ำไป โดยการนำเงินที่ตนมีอยู่ไปแสวงหาโอกาสที่จะทำให้เงินของตนเกิดดอกออกผลมากขึ้น

    เมื่อคนรวยได้เงินมาแล้ว คนรวยก็จะเก็บ “เงินออม” ขึ้นมาทันที ซึ่งอาจจะเป็น 30% หรือ 50% เป็นต้น จากนั้นเงินที่จะต้องใช้จ่ายก็จะเหลือน้อย จึงทำให้ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น เงินออมเมื่อ…ผ่านเวลาที่ยาวนาน ก็จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆจนมีขนาดใหญ่เพียงพอ จากนั้นก็จะนำเงินไปสร้างเครื่องจักรที่จะสร้างให้เกิด “รายได้ที่ไม่ต้องทำงาน”

    ดังนั้น การแก้ปัญหาคนจนที่ดีที่สุดคือ การ “ปรับทัศนคติ”  โดยให้ “คนจน” เริ่มมีทัศนคติในการหาเงินและใช้จ่ายเงินอย่าง “คนรวย” 

    “ทัศนคติ”  จึงเป็นสิ่งแรกที่จะต้องแก้ไข เมื่อปรับได้แล้ว…คนจนก็จะพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ตนเองมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และในที่สุดก็จะสามารถหลุดพ้นจากความเป็นคนจนไปได้

     

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    1,334 views  Comments

    Posted Under กรุงเทพธุรกิจ

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2489266เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS