doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    5 พฤษภาคม 2560

    714 views

    6 วิธี หาโอกาสในยาม “วิกฤต”

    พิมพ์หน้านี้

    คอลัมน์:  คุยให้คิด

    หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  ฉบับวันที่ 5 พฤษภาคม 2560

    6 วิธี หาโอกาสในยาม “วิกฤต”

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม  มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.CsiSociety.com

    Add Line:  @CsiSociety

    ผมชอบบทความอยู่บทความหนึ่งที่มีชื่อว่า “Six steps to optimize distressed investments”  ซึ่งแปลตามความได้ว่า “6 วิธี ที่จะหาผลกำไรจากการลงทุนที่อยู่ในวิกฤต”  ที่เขียนโดย คุณ Michael McTaggart, Partner – Corporate Advisory and Restructuring บริษัทที่ปรึกษา PWC ประเทศแคนาดา ที่ผมชอบบทความนี้เป็นเพราะ มันง่ายๆ และสามารถประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ต่างๆที่เราคิดจะลงทุนได้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาดหุ้น ซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่การซื้อบริษัท โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

    หนึ่ง  มองหา “สินทรัพย์ที่ตกอยู่ในวิกฤต”

    ขั้นแรกเราคงต้องมองออกไปข้างหน้าเพื่อค้นหาโอกาสในการลงทุนเสียก่อน หลังจากที่เราพบแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ราคามันต้องถูกแสนถูก…จนอยากซื้อมาก แต่หลายๆดีลมีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีวิธีพื้นฐานที่จะพอเช็คได้ว่าราคามันถูกจริงไหม อยู่ด้วยกัน 2-3 วิธีดังนี้ครับ

    -       Financial Analysis  การวิเคราะห์การเงินโดยเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

    -       Data Analytics  การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งอุตสาหกรรม และดูว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมนั้นยังเจริญต่อไปอีก 5-10 ปีข้างหน้าหรือไม่?

    -       Market Presence  แสวงหาคนรู้จักในบริษัทหรือแวดวงที่เราต้องการลงทุนอยู่  ถ้าคนๆนั้นอยู่วงในและสามารถหาให้ข้อมูลแก่คุณได้อย่างจริงใจ

    สอง  วางกลยุทธ์เพื่อหา…ผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่

    ในหัวข้อนี้ มีการวางกลยุทธ์ที่สำคัญอยู่ด้วยกันดังนี้คือ

    -       Fair Value  ต้องค้นหา “มูลค่าที่แท้จริง” ของสินทรัพย์นั้นออกมาเสียก่อน วิธีนี้จะเป็นวิธีที่จะทำให้เรามีราคาอ้างอิงในใจก่อนการตัดสินใจจะซื้อ

    -       Scenarios  จากนั้นทำการวางแผนการเงินของสินทรัพย์ที่เราจะซื้อ โดยอาจวางแผนง่ายๆตั้งแต่ ดีที่สุด ปานกลาง และแย่ที่สุด ถ้าคุณผู้อ่านต้องการจะเป็นนักลงทุนในยามวิกฤตตัวจริงแล้ว ก็ต้องทดลองทำงบประมาณ กำไร-ขาดทุน แบบแย่ที่สุด ถ้าทำออกมาแล้ว…ยังรอดได้ หรือพอมีกำไรบ้าง จึงค่อยเริ่มศึกษาอย่างจริงจัง  และถ้าไม่รอด…ก็ไม่ต้องไปสนใจกับสินทรัพย์ตัวนั้นๆอีกเลย

    สาม  ศึกษาอย่างละเอียด (Due Diligence)

    หลังจากการทำแบบทดลองการเงิน (Financial Scenario)  ในแบบแย่ที่สุดผ่านพ้นไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การศึกษาอย่างละเอียด โดยมีหัวข้อสำคัญๆดังนี้คือ

    -       Comparability  เปรียบเทียบสินทรัพย์ที่เราวางแผนจะซื้อ เปรียบเทียบกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมว่า ถูกมากๆ หรือถูกที่สุดหรือไม่  อย่าลืมว่า…นักลงทุนประเภทนี้ต้องซื้อสินทรัพย์ได้ในราคาที่ “ถูกมโหฬาร” เท่านั้น

    -       Timing   การศึกษาอย่างละเอียดในช่วงเวลานั้นแล้ว หากเวลาเลยผ่านจากช่วงเวลานั้นไปแล้ว…สินทรัพย์บางประเภทจะราคาตก เช่น ราคาที่ดินในปีถัดไปอาจมีราคาตกลงไปอีก เพราะกฎหมายที่เกี่ยวกับผังเมือง เป็นต้น

    -       Access to Management  สำหรับสินทรัพย์ประเภทธุรกิจที่มีคณะผู้บริหารติดมาด้วย คงต้องไปดูว่าคณะผู้บริหารด้วย เช่น  ซื่อสัตย์หรือไม่ มีความเก่งพอหรือไม่  หรือในอนาคตคาดว่าจะลาออกไปเมื่อไร

    สี่  วางแผนในการเจรจาต่อรองให้ดีที่สุด

    สำหรับสินทรัพย์ที่สามารถเจรจาต่อรองได้ ควรมีการวางแผนในการซื้อสินทรัพย์นั้นๆไว้ก่อน ควรจะเริ่มจากรายละเอียดปลีกย่อยให้เสร็จสิ้นเสียก่อน เช่น เทอมการชำระเงิน  จากนั้นจึงค่อยไปตกลงเรื่องราคาท้ายที่สุด ทั้งนี้ การคำนึงถึงคู่แข่งขันในการซื้อจะเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อรอง ถ้ามีคนแย่งกันเยอะ…อาจไม่ได้ราคาที่ถูกจริงๆตามที่หวังไว้ก็เป็นได้

    ห้า  ปิดดีล…ด้วยความรอบคอบ ในเวลาที่จำกัด

    หลังจากที่ได้เจรจาต่อรองจนได้ราคาเป็นที่พึงพอใจแล้ว จากนั้นไปก็เป็นช่วงเวลาที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบดูสินทรัพย์ที่ต้องการซื้อนั้นๆ ว่ายังคงอยู่ในสภาพที่ได้ตกลงกันไว้หรือไม่ สินทรัพย์ประเภทนี้จะเป็นสินค้าที่มักจะมีตำหนิ จึงทำให้มีราคาตกต่ำลงในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น การปิดดีล การรับมอบจึงต้องกระทำอย่างมั่นใจในเวลาที่รวดเร็ว

    หก กำกับกระบวนการที่จะเปลี่ยนสินทรัพย์ด้อยค่าให้เป็น…กำไร

    หากสินทรัพย์ที่เราซื้อเป็นหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้นหรือเป็นที่ดิน เราก็เพียงแต่รอเวลาให้สินทรัพย์นั้นๆกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง แต่ถ้าหากเป็นอาคารหรือเป็นบริษัท งานนี้คงจะไม่ง่ายนัก การกำกับดูแลให้เป็นไปตามแผน และการเปลี่ยนสินค้าด้อยค่าเหล่านั้นให้กลายมาเป็นกำไร จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่ง และจะต้องมุ่งมั่นทำงานนั้นๆให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

    ดูเหมือนว่า การแสวงหาผลกำไรจากการลงทุนที่อยู่ในวิกฤต อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ง่ายและไม่สนุกนัก อย่างไรก็ตาม คนที่ประสบความสำเร็จมักจะมีนิสัยที่จะสนุกกับการแสวงหารายได้จากการลงทุนใหม่ๆ  ทำให้นึกถึงคำพูดของ Michael Jordan อดีตนักกีฬาบาสเกตบอลระดับโลก ที่เคยพูดไว้ว่า “In any investment, you expect to have fun and make money.”  แปลตามได้ว่า “การลงทุนใดๆก็ตาม คุณต้องหวังที่จะสนุกกับการหาเงินกับมัน”

    หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่  www.doctorwe.com

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    714 views  Comments

    Posted Under กรุงเทพธุรกิจ

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2489639เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS