doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    11 กรกฎาคม 2554

    3,198 views

    หนี้บัตรเครดิต… แก้ปัญหาอย่างไร ?… ให้สำเร็จ

    พิมพ์หน้านี้

    คอลัมน์: หุ้นส่วน ประเทศไทย

    หนี้บัตรเครดิต …แก้ปัญหาอย่างไร ? …ให้สำเร็จ

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    กรีซ… อีกแล้ว…

    โครงการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตของรัฐบาล ที่มีเงื่อนไขผูกมาด้วยมากมาย เช่น ผู้ที่มีบัตรเครดิตหลายใบ สามารถเลือกเก็บบัตรเครดิตไว้ใช้ในยามจำเป็นได้ 1 ใบ หรือการต้องทำหนังสือแสดงเจตจำนงกับธนาคารว่า จะไม่ก่อหนี้ที่เป็นภาระบัตรเครดิตเพิ่มเติมอีกในช่วง 1 ปี ไม่เช่นนั้นธนาคารจะไม่อนุมัติ เป็นต้น ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวก็ทำให้โครงการนี้มียอดอนุมัติน้อยมากเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ 10,000 ล้านบาท การรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการให้เงินกู้รายย่อย ดังนั้นหากจะพิจารณาถึงความสำเร็จของการให้เงินกู้รายย่อยหรือการให้เงินกู้แก่คนระดับรากหญ้าที่มักจะเรียกกันว่า ?ไมโครไฟแนนซ์? นั้น จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องไปด้วยดังนี้

    1. ความสำเร็จของไมโครไฟแนนซ์คือ อะไร ???

    โครงการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตของรัฐบาล ที่มีเงื่อนไขผูกมาด้วยมากมาย เช่น ผู้ที่มีบัตรเครดิตหลายใบ สามารถเลือกเก็บบัตรเครดิตไว้ใช้ในยามจำเป็นได้ 1 ใบ หรือการต้องทำหนังสือแสดงเจตจำนงกับธนาคารว่า จะไม่ก่อหนี้ที่เป็นภาระบัตรเครดิตเพิ่มเติมอีกในช่วง 1 ปี ไม่เช่นนั้นธนาคารจะไม่อนุมัติ เป็นต้น ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวก็ทำให้โครงการนี้มียอดอนุมัติน้อยมากเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่ 10,000 ล้านบาท การรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการให้เงินกู้รายย่อย ดังนั้นหากจะพิจารณาถึงความสำเร็จของการให้เงินกู้รายย่อยหรือการให้เงินกู้แก่คนระดับรากหญ้าที่มักจะเรียกกันว่า “ไมโครไฟแนนซ์” นั้น จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องไปด้วยดังนี้

    หากใช้คำนิยามของคุณยูนูสเป็นบรรทัดฐานในการแก้ปัญหาความยากจนของคนจนแล้ว การที่รัฐบาลมากำหนดว่า คนจนจะต้องมีหนี้น้อยลง… คนจนจะต้องมีวินัยในการใช้จ่ายเงินมากขึ้น… และสุดท้ายลงเอยต่อไปว่า คนจนจะกู้เงินเพิ่มไม่ได้ จึงน่าจะเป็นความคิดที่สวนทางกับความเป็นจริงในปัจจุบัน ดังนั้นการไปกำหนดการไม่ให้เป็นหนี้เพิ่มขึ้นเป็นเงื่อนไขในการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต จึงเป็นเหตุให้โครงการการรีไฟแนนซ์ดังกล่าว…ล้มเหลวอย่างที่เห็นกันอยู่

    2. การกู้ยืมยิ่งมีระเบียบ… เงินกู้นอกระบบยิ่งเจริญ

    ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยมีความคิดที่จะให้ผู้ใช้บัตรเครดิตมีวินัยในการใช้จ่ายเงินมากขึ้น จึงออกระเบียบให้ผู้ใช้บัตรเครดิตต้องผ่อนชำระขั้นต่ำจาก 5 เปอร์เซ็นต์ไปเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าคุณผู้อ่านลองค้นหากระทู้ของผู้ใช้บัตรเครดิตจำนวนมากในเว็บต่างๆดูจะพบว่า ด้วยความหวังดีในคราวนั้น…ได้ทำให้คนจนจำนวนมากต้องไปกู้เงินนอกระบบ โดยมีอัตราดอกเบี้ย 5-10 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน และต้องหักดอกตั้งแต่วันที่รับเงินกู้ แทนที่จะยังคงใช้สินเชื่อบัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 1.5-2 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน

    ตัวอย่างดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อใดก็ตาม…ที่รัฐบาลเกิดฮึดขึ้นมา…อยากจะสร้างระเบียบวินัยในการใช้จ่ายให้แก่คนยากจนด้วยความหวังดี ความหวังดีของรัฐบาลนั่นแหละ…ที่จะเป็นตัวผลักดันให้คนยากจนต้องไปกู้ยืมเงินนอกระบบมากขึ้นนั่นเอง

    3. การเข้าถึงสินเชื่อของคนจน… โจทย์สำคัญที่รัฐบาลต้องรีบทำ

    ในงานวิจัยเรื่อง “Microfinance meets the Market” ของนาย Robert Cull ที่เสนอต่อมหาวิทยาลัยนิวยอร์คนั้น ได้ทำการสำรวจสถาบันการเงิน 346 แห่งที่ให้สินเชื่อระดับรากหญ้าแก่ประชาชนทั่วโลกกว่า 18 ล้านคนพบว่า ธนาคารพาณิชย์มักจะไม่ชอบทำสินเชื่อระดับรากหญ้าด้วยเหตุผลว่า ค่าใช้จ่ายในการให้สินเชื่อระหว่างลูกค้าระดับรากหญ้ากับคนทั่วไปเท่ากัน แต่กำไรของสินเชื่อรายย่อยอาจจะเท่าทุนหรือบางครั้งขาดทุน นอกจากนั้นเกณฑ์การให้สินเชื่อแก่รายย่อยและคนทั่วไปจะเหมือนกัน และมักจะพบว่า ลูกค้าระดับรากหญ้าจะไม่ผ่านเกณฑ์ทำให้ธนาคารเสียเวลา ดังนั้นธนาคารพาณิชย์ทั่วไปจึงไม่ให้ความสำคัญกับสินเชื่อประเภทนี้

    ให้เงินกู้ได้… แต่ดอกเบี้ยต้องสูง.. สถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อแก่คนยากจน ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ จะคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูง เนื่องจากค่าใช้จ่ายต่อครั้งและปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ ธนาคาร Banco Compartamos ในประเทศเม็กซิโก เป็นธนาคารที่ประสพความสำเร็จในการปล่อยกู้ให้คนระดับรากหญ้า โดยการใช้อัตราดอกเบี้ยสูง…แต่ไม่เข้มงวดเรื่องหลักประกัน จนทำให้คนยากจนในเม็กซิโกใช้สินเชื่อของธนาคารนี้กันอย่างล้นหลาม เพราะทุกคนเข้าถึงได้ง่าย…และสบายใจในเงื่อนไขการกู้…แม้ว่าดอกเบี้ยจะสูงก็ตาม

    ธนาคารกรามีนก็ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงสินเชื่อของคนจน ลูกค้าไม่ต้องไปหาธนาคาร ธนาคารต่างหากที่จะไปหาลูกค้า พนักงาน 14,989 คนของกรามีน เดินทางไปให้บริการกับลูกค้า 5.31 ล้านคนที่บ้านของพวกเขา ในหมู่บ้าน 57,791 แห่งทั่วประเทศ ทุกสัปดาห์ในแต่ละปี ลูกค้าของกรามีนสามารถชำระคืนเงินกู้ได้อย่างง่ายดาย ด้วยการชำระเงินต้นเป็นงวดๆ รายสัปดาห์ การทำธุรกิจแบบนี้แปลว่าธนาคารต้องมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการค่อนข้างสูง แต่มันช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกหนี้อย่างมหาศาล

    ในประเทศไทย คนจนหลายคน…ไม่สามารถหาเงินกู้จากที่ไหนๆได้เลย และยังมีคนจนอีกเป็นจำนวนมากที่ธนาคารและสถาบันการเงินทุกแห่งปฏิเสธการให้สินเชื่อ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องคิดถึง… การเข้าถึงสินเชื่อของคนระดับรากหญ้าเป็นอันดับแรก ทุกวันนี้กองทุนหมู่บ้าน สหกรณ์ออมทรัพย์ ธนาคารออมสิน และสถาบันการเงินของภาครัฐอีกหลายแห่งก็ทำหน้าที่ได้ดีมากแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของคนยากจน รัฐบาลจึงต้องรีบหาหนทางเพิ่มขึ้นในการรองรับการเข้าถึงสินเชื่อของคนระดับรากหญ้าให้มากที่สุด

    4. ผู้หญิงไทย…หัวใจในการขับเคลื่อน…ไมโครไฟแนนซ์

    จากงานวิจัยของ Robert Cull ฉบับข้างต้น สถาบันการเงินของรัฐที่ให้สินเชื่อระดับรากหญ้าแล้วทำกำไรได้ จะมีลูกค้าเป็นผู้หญิงสูงถึง 86 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสถาบันการเงินเอกชนที่ให้สินเชื่อดังกล่าวและทำกำไรได้เช่นกัน จะมีลูกค้าเป็นผู้หญิงสูงถึง 67 เปอร์เซ็นต์

    ธนาคารกรามีนของคุณยูนูส ก็ใช้หลักการเดียวกัน กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปเน้นให้บริการกับผู้ชาย ในขณะที่กรามีนเน้นให้บริการกับผู้หญิง โดยพบว่า 96 เปอร์เซ็นต์ของลูกหนี้กรามีนเป็นผู้หญิง กรามีนช่วยเลื่อนสถานะทางสังคมของหญิงยากจนในสายตาของครอบครัวพวกเธอ ด้วยการให้โอกาสครอบครองสินทรัพย์ กรามีนตั้งเงื่อนไขว่า กรรมสิทธิ์ในบ้านที่สร้างโดยเงินกู้จากกรามีน จะตกเป็นของผู้กู้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง

    ผมเองคิดว่า ผู้หญิงไทยคือ หัวใจในการใช้จ่ายเงินอย่างมีระเบียบวินัย ดังนั้นกฎกติกาควรถูกสร้างขึ้นตามแนวความคิดดังกล่าว โดยการส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทต่างๆในการกู้ยืมเงิน อาทิเช่น การให้ผู้หญิงเป็นผู้กู้ยืมเอง การให้ผู้หญิงเป็นคนค้ำประกัน และอื่นๆ ด้วยอุปนิสัยที่มักจะอ่อนไหวง่ายกับเหตุการณ์ต่างๆ จะทำให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในการใช้จ่ายเงินอย่างมีเหตุผล ซึ่งแน่นอน…มักจะดีกว่า…กฎ ระเบียบต่างๆที่รัฐมักจะออกมาบังคับคนจนให้ใช้จ่ายน้อยลง

    ทำให้นึกถึงกวีชาวอเมริกันที่ชื่อ Ralph Waldo Emerson ที่กล่าวไว้ว่า “I have thought a sufficient measure of civilization is the influence of good women.” แปลตามความได้ว่า “ผมคิดว่า การมีอารยธรรมอย่างพอเพียงนั้น จะต้องมีผู้หญิงที่ดีเป็นคนนำ” ดังนั้นรัฐควรจะสรรหานโยบายที่ให้สินเชื่อระดับรากหญ้าโดยให้ผู้หญิงไทยเป็นแกนนำ ซึ่งจะนำไปสู่ “อารยธรรมที่พอเพียง” และอาจจะนำประเทศไทยไปสู่ “เศรษฐกิจพอเพียง” อย่างแท้จริงก็เป็นได้

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    3,198 views  294 Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Sorry, comments for this entry are closed at this time.

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485035เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS