doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    14 กรกฎาคม 2554

    6,041 views

    ค่าแรง 300 บาทแล้ว… เศรษฐกิจไทยจะแย่… จริงหรือ ??

    พิมพ์หน้านี้

    คอลัมน์: หุ้นส่วน ประเทศไทย

    ค่าแรง 300 บาทแล้ว… เศรษฐกิจไทยจะแย่… จริงหรือ ??

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    ชัยชนะอย่างถล่มทลายของพรรคเพื่อไทยที่สามารถคว้าเก้าอี้ในสภาผู้แทนราษฎรได้มากกว่า 260 ที่นั่ง ตามมาด้วยเสียงแสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรงของนักธุรกิจจำนวนหนึ่ง โดยมีสาเหตุมาจากนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ตั้งเป้าปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน โดยตั้งสมมุติฐานว่า หากการปรับขึ้นค่าแรงดังกล่าวเกิดขึ้นจริง… ประเทศไทยจะสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน… เศรษฐกิจประเทศไทยจะแย่..จนอาจถึงขั้นเศรษฐกิจไทยทั้งประเทศถดถอยเลยก็เป็นได้

    ดังนั้นเพื่อให้คุณผู้อ่านได้เข้าใจอีกมุมมองหนึ่งที่ต่างจากสมมุติฐานข้างต้น จึงขอเสนอข้อมูลและข้อสังเกตดังนี้

    1. ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

    รายงานเรื่อง The Global Competitiveness Index 2010-2011 ที่จัดทำโดย World Economic Forum กล่าวถึงดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆทั่วโลก แนวโน้มดัชนีดังกล่าวมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกับค่าแรงขั้นต่ำ สังเกตได้จากประเทศที่อยู่ในลำดับต้นๆล้วนแล้วแต่มีค่าแรงสูงทั้งสิ้น นับจากสวิสเซอร์แลนด์ลำดับที่ 1 ค่าแรงรายวันขั้นต่ำอยู่ที่ 5,743 บาท หรือสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 4 ค่าแรงอยู่ที่ 1,730 บาทต่อวัน ในประเทศลำดับต้นๆอีกหลายประเทศไม่มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเลย แต่มักจะกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำแทน เช่น สวีเดนลำดับที่ 2 สิงคโปร์ลำดับที่ 3 หรือเยอรมันลำดับที่ 5 ประเทศเหล่านี้จะมีประชากรที่มีการศึกษาสูงและมีคุณภาพในการทำงานสูง ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอยู่แล้ว

    ประเทศที่จะนำมาเปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้ จะนำประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกับประเทศไทยมาใช้เปรียบเทียบ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซียติดอยู่ที่ 26 จากการจัดลำดับดังกล่าว และมีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 318 บาทต่อวัน (มาเลเซียยังมีสวัสดิการสังคมที่มีมาตรฐานสูง แต่ไม่สามารถตีเป็นตัวเงินได้) อินโดนีเซียลำดับที่ 44 ค่าแรงอยู่ที่ 227 บาทต่อวัน และฟิลิปปินส์อยู่ที่ 85 ค่าแรงอยู่ที่ 283 บาทต่อวัน หากพิจารณาแล้วพอจะสรุปเบื้องต้นได้ว่า ไทยซึ่งติดอยู่ในลำดับที่ 38 แต่ได้ค่าแรงที่ 221 บาทต่อวัน (ค่าแรงขั้นต่ำต่อวันสูงที่สุดที่ภูเก็ต) เมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำของทั้ง 3 ประเทศแล้ว ค่าแรง 300 บาทต่อวันที่เป็นนโยบายใหม่นั้น…ก็ยังดูสมเหตุสมผลอยู่

    ประเทศ ความสามารถในการแข่งขัน GDP/คน (บาท) ค่าแรง/วัน (บาท)
    ไทย ลำดับที่ 38 149,760 221
    มาเลเซีย ลำดับที่ 26 252,690 318
    อินโดนีเซีย ลำดับที่ 44 90,450 227
    ฟิลิปปินส์ ลำดับที่ 85 60,210 283

    ที่มา : http://www.cia.gov, http://en.wikipedia.org

    2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศต่อหัว (GDP per capita)

    พบว่ามาเลเซียมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศต่อหัวสูงที่สุดที่ 252,690 บาท ค่าแรงอยู่ที่ 318 บาทต่อวัน อินโดนีเซียอยู่ที่ 90,450 บาทต่อคน ค่าแรงอยู่ที่ 227 บาทต่อวัน ฟิลิปปินส์อยู่ที่ 60,210 บาทต่อคน ค่าแรงอยู่ที่ 283 บาท และประเทศไทยอยู่ที่ 149,760 บาท ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 221 บาทต่อวัน จะเห็นได้ว่าถ้าเปรียบเทียบกับทั้ง 3 ประเทศแล้ว ค่าแรงขั้นต่ำที่ 300 บาทก็น่าจะเป็นไปได้ นอกจากนั้นหากพิจารณาจากความเป็นจริงในปัจจุบันแล้วจะพบว่า ในมาเลเซียจะมีคนน้อยมากที่ยอมทำงานที่ค่าแรง 318 บาทต่อวัน ส่วนใหญ่อาชีพงานประเภท 3D คือ Dirty (งานสกปรก), Danger (งานอันตราย) และ Drudgery (งานน่าเบื่อหน่าย) คนในประเทศจะไม่มีใครยอมทำกัน ดังนั้นมาเลเซียจึงต้องอนุญาตให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานดังกล่าวแทน เช่นเดียวกับไทยที่ให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในภาคการประมงและภาคการก่อสร้าง เป็นต้น

    3. การเจริญเติบโตของภาคการส่งออก

    หากพิจารณายอดการส่งออกของประเทศไทยย้อนหลัง 10 ปีจะพบว่า ปี 2543 มียอดการส่งออกอยู่ที่ 2.768 ล้านล้านบาท พอมาถึงปี 2553 ยอดการส่งออกก็ไปอยู่ที่ 6.176 ล้านล้านบาท เมื่อนำมาคำนวณแล้วก็จะพบว่า ภายใน 10 ปีมียอดการส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 123 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในกทม.นั้น ในปี 2543 อยู่ที่ 162 บาทต่อวัน ต่อมาในปี 2553 ค่าจ้างก็ไปอยู่ที่ 206 บาท ใน 10 ปีค่าจ้างขั้นต่ำต่อวันในกทม.เพิ่มขึ้นเพียง 27 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำเรื่องค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อเข้ามาคิดด้วยแล้วจะพบว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่แท้จริง (Real Minimum Wage) แทบไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นเลย โดยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แสดงว่าแรงงานไร้ฝีมือ แทบจะไม่ได้ประโยชน์จากการขยายตัวของภาคการส่งออกของประเทศเลย การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำต่อวันให้มากกว่าที่เป็นอยู่จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะจะช่วยลดช่องว่างระหว่างลูกจ้างและนายจ้างที่มีขนาดใหญ่มากในปัจจุบัน

    4. สัญญาประชานิยม

    การที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงกับคนทั้งประเทศว่า จะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300บาทต่อวันนั้น เป็นการแสดงถึงการให้คำมั่นสัญญาที่พรรคเพื่อไทยให้กับประชาชนผู้ใช้แรงงานทั้งประเทศ และหากไม่ทำตามคำมั่นสัญญา ความเชื่อมั่นสาธารณะที่มีต่อพรรคก็จะลดน้อยถอยลง และอาจจะทำให้พรรคมีคะแนนเสียงลดลงอย่างมากในการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่สิ่งที่น่ากลัวมากกว่านั้นคือ อาจเกิดความไม่พอใจระบาดไปทั่วประเทศ เพราะผู้ใช้แรงงานทุกคนต่างต้องการเงินมากขึ้นเพื่อครอบครัวและตนเอง และอาจพร้อมที่จะก่อความรุนแรงคล้ายๆกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งหากความรุนแรงเกิดขึ้นจริง ทุกคนในประเทศ…คงจะไม่มีใครได้อะไรจากงานนี้เลย

    5. การช่วยเหลือเยียวยากิจการที่ได้รับผลกระทบ

    ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการ SMEs จำนวนกว่า 2.9 ล้านกิจการ คิดเป็น 99.6 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนกิจการทั้งหมด และมีจำนวนคนงานที่อยู่ในกิจการเหล่านี้ประมาณ 10.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 77.8 เปอร์เซ็นต์ของการจ้างงานรวมทั้งประเทศ หากมีการนำนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน เท่ากันทั่วประเทศไปใช้จริง คาดว่าจะมีคนงานที่ได้รับประโยชน์ 3.3 ล้านคน แต่ธุรกิจ SMEs จะต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเพิ่มขึ้น 6.4 เปอร์เซ็นต์

    ธุรกิจใหญ่คงไม่ลำบากหรอก… แต่ธุรกิจเล็กๆที่อนาคตไม่แน่นอน ก็อาจจะต้องล้มหายตายจากไปได้ง่ายๆ… หากต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน ดังนั้นรัฐบาลใหม่จะต้องรีบเข้าไปดูแลในเรื่องของเวลาและอัตราการปรับขึ้นค่าแรงที่เหมาะสม รวมถึงมาตรการการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม รัฐบาลจึงต้องคิดให้รอบคอบ.. ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป

    ทำให้นึกถึงคำพูดของอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อ Abraham Lincoln เขาเคยกล่าวไว้ว่า “Give me six hours to chop down a tree and I will spend the first four sharpening the axe.” แปลว่า ?ให้เวลาผม 6 ชั่วโมงที่จะตัดต้นไม้ แล้วผมจะใช้เวลา 4 ชั่วโมงแรกในการลับขวาน? ตีความว่า “ในการทำงานทุกชิ้น ควรจะใช้เวลาในการพิจารณาให้รอบคอบละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน… จึงจะค่อยลงมือทำ” แม้ว่านโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท จะเป็นนโยบายที่ดีของรัฐบาลที่มีต่อผู้ใช้แรงงานก็ตาม แต่หากใช้โดยไม่ระมัดระวังแล้ว กิจการเล็กๆที่ยังไม่แข็งแรง…ก็อาจจะล่มสลายไปก็ได้ และเมื่อถึงตอนนั้น…ปัญหาที่ใหญ่กว่าก็คือ ปัญหาคนตกงาน.. จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งในอดีตปัญหานี้แหละ…ที่ได้คว่ำรัฐบาลในหลายๆประเทศมานักต่อนักแล้ว

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    6,041 views  1,459 Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Sorry, comments for this entry are closed at this time.

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485037เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS