doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    5 กรกฎาคม 2555

    2,623 views

    วิกฤตหนี้ยุโรป อาจเป็น “วิกฤต…ที่เลวร้ายที่สุด” ตอนที่ 1

    พิมพ์หน้านี้

     

    คอลัมน์:  หุ้นส่วน ประเทศไทย

    วิกฤตหนี้ยุโรป  อาจเป็น  “วิกฤต…ที่เลวร้ายที่สุด” ตอนที่ 1

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.facebook.com/doctorweraphong

    เวลานี้ คุณผู้อ่านหลายท่านคงทราบกันดีแล้วว่า ตอนนี้ประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่ได้ขอ “ความช่วยเหลือทางการเงิน” (Bailout) ไปแล้วมีอยู่ด้วยกัน 5 ประเทศแล้วคือ กรีซ ไอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส และไซปรัส จากประเทศในกลุ่มยูโรโซนทั้งหมด 17 ประเทศ แม้ว่าตอนนี้จะมีมาตรการช่วยเหลือประเทศต่างๆ โดยเฉพาะภาคการธนาคารและสถาบันการเงินของบรรดาประเทศที่มีปัญหาก็ตาม แต่ผมเองก็ยังมองว่า “ปัญหาหนี้สาธารณะ” ในกลุ่มยูโรโซนครั้งนี้ อาจเป็น “วิกฤต..ที่เลวร้ายที่สุด” ครั้งหนึ่งของโลก โดยมีเหตุผลดังนี้ครับ

    หนึ่ง  ขนาดเศรษฐกิจของ  “กลุ่มประเทศ” ที่ได้รับผลกระทบ

    โดยส่วนใหญ่  เวลาเราพูดถึงขนาดเศรษฐกิจนั้น เรามักจะใช้ตัวเลข “ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ” หรือ GDP ของประเทศนั้นๆ ในที่นี้ผมจะขอยกตัวอย่าง 3 วิกฤตการณ์ขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบ วิกฤตการณ์ทั้ง 3 วิกฤตการณ์นี้ ประกอบไปด้วย

    1) วิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย หรือที่เราเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง (อ่านรายละเอียดได้ที่   http://www.doctorwe.com/variety/20120522/1247)

    2)  วิกฤตเศรษฐกิจซับไพรม์ หรือที่เราเรียกว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (อ่านรายละเอียดได้ที่   http://www.doctorwe.com/variety/20120521/1225)

    3)  วิกฤตหนี้สาธารณะของกลุ่มยูโรโซน

    วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งนั้น น่าจะมีประเทศไทย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และอีกบางประเทศ ซึ่งในที่นี้ เราจะใช้ค่า GDP ในปัจจุบันเพื่อเปรียบเทียบขนาดเศรษฐกิจ ไทยมี GDP ประมาณ  0.33 ล้านล้านดอลลาร์  อินโดนีเซียมีประมาณ 0.82 ล้านล้านดอลลาร์ เกาหลีใต้ มี GDP  ประมาณ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ และอีกบางประเทศ ดังนั้น วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง   GDP ของ 3-5 ประเทศไม่น่าเกิน 3 ล้านล้านดอลลาร์

    วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์  ประเทศที่ได้รับผลกระทบตรงๆนั้น มีเพียงประเทศเดียวคือ สหรัฐอเมริกา GDP  ของอเมริกาในปัจจุบันนั้นมีขนาดประมาณ 15 ล้านล้านดอลลาร์ จึงนับได้ว่ามีขนาดใหญ่กว่า  GDP  ของทุกประเทศรวมกันที่ได้รับผลกระทบตอนวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” มาก

    วิกฤตการณ์หนี้สาธารณะของกลุ่มยูโรโซน ประเทศที่ขอรับความช่วยเหลือไปแล้วมี 5 ประเทศ แต่เนื่องจากกลุ่มยูโรโซนมีอยู่ 17 ประเทศ และใช้ “เงินยูโร” เหมือนกัน ดังนั้นขนาด GDP ของประเทศที่ได้รับผลกระทบ เราจึงควรคิดทั้ง 17 ประเทศ ซึ่งพบว่า ขนาด GDP หรือขนาดเศรษฐกิจของ 17 ประเทศมีค่าประมาณ 17 ล้านล้านดอลลาร์

    วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง มีเพียง 3-5 ประเทศ ขนาด GDP รวมกันเพียง 3 ล้านล้านดอลลาร์

    วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์   มี อเมริกา ประเทศเดียว ขนาด GDP 15  ล้านล้านดอลลาร์

    วิกฤตยูโรโซน  มี 17 ประเทศ  ขนาด  GDP  17  ล้านล้านดอลลาร์

    ดูจากตัวเลขง่ายๆ  ก็พอจะรู้ว่า ถ้า “วิกฤตหนี้ยูโรโซน”  สำแดงฤทธิ์เดชเต็มที่จริงๆ มันก็น่าจะรุนแรงกว่า “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” เมื่อ 4 ปีที่แล้วอย่างแน่นอน แต่ที่ยังไม่รู้ก็คือ  ดีกรีความรุนแรงของมันจะ “หนักหนา” สักเพียงใด ?

    สอง   ขนาดจำนวนเงินที่เข้าไปช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์

    ในปี 2540 ตอนที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งนั้น พบว่า ไอเอ็มเอฟ ได้เข้าไปช่วยเหลือโดยการให้เงินกู้แก่หลายประเทศหลายครั้งด้วยกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินที่ใช้ช่วยเหลือประมาณ 3-5 ประเทศนั้น รวมกันแล้ว ไม่น่าจะเกิน 0.1 ล้านล้านดอลลาร์

    ปี 2551 ตอนเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกา รัฐบาลอเมริกานั้นสามารถพิมพ์เงินได้เอง   จึงไม่ต้องพึ่งไอเอ็มเอฟ รัฐบาลอเมริกาก็ได้ออกมาตรการ “ช่วยเหลือครั้งยิ่งใหญ่” อันประกอบไปด้วยงบประมาณอุ้มภาคการเงิน 0.7 ล้านล้านดอลลาร์ มาตรการผ่อนปรนทางการเงิน ครั้งที่ 1 (QE1)  0.6  ล้านล้านดอลลาร์ และมาตรการป้องกันประชาชนแห่ถอนเงิน (Bank Run)  โดยมีการขยายเพดานรับประกันเงินฝากอีกด้วย แต่ถ้าเอาเฉพาะมาตรการที่ใช้ตรงๆ ก็จะมีมูลค่า  0.6 + 0.7 = 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ หรือคิดคร่าวๆ ก็คือ  รัฐบาลอเมริกาใช้จ่ายเงินเพื่อเข้าไปพยุง  “เศรษฐกิจของตัวเอง” คิดเป็นมากกว่า 10 เท่าของ  จำนวนเงินที่ใช้ในการพยุง “ประเทศในเอเชีย” ตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง

    การช่วยเหลือที่เกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยูโรโซน อาจกล่าวได้ว่า เป็นการให้เงินช่วยเหลือที่สร้างความสับสนมากที่สุดครั้งหนึ่ง กลุ่มยูโรโซนมีการก่อตั้งกองทุนแล้ว 2 กองทุนคือ 1) กองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินยุโรป (EFSF)  2) กองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป  (ESM) กองทุนแรก EFSF  เป็นกองทุนชั่วคราว และได้ปล่อยกู้ให้กับ กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ไปแล้ว ในขณะที่กองทุน ESM  เป็นกองทุนถาวร  ที่มีขนาดประมาณ 0.65 ล้านล้านดอลลาร์ และจะเริ่มใช้เงินเข้าไปช่วยเหลือได้ในเดือนกรกฎาคมนี้

    นอกจากนั้นผู้นำยุโรป  ยังวางแผนที่จะใส่เงินเข้าไปอีก 0.17 ล้านล้านดอลลาร์ รวมแล้วจนถึงขณะนี้ กลุ่มยูโรโซนเตรียมเงินไว้ช่วยแล้ว 0.82 ล้านล้านดอลลาร์

    หากเปรียบเทียบกับเงินช่วยเหลือตอนเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์แล้ว เงินช่วยเหลือเพื่อจะ “ประคองเศรษฐกิจ” ของกลุ่มยูโรโซนยังมีค่าไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม  เรากำลังพูดถึงจำนวนเงินที่ใช้แก้ปัญหาที่เป็นอยู่ในขณะนี้เท่านั้น ปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปอาจกล่าวได้ว่า ยังอยู่ในภาวะเริ่มต้น เท่านั้น

    เวลานี้ ทุกคนต่างรู้ดีว่าวิกฤตการณ์หนี้สาธารณะในยุโรปเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น แสดงว่ามันยังไม่ถึง “จุดต่ำสุด”  แสดงว่ามันยังต้อง “ใช้เงินเข้าไปช่วย” อีก  และแสดงว่ามันยังต้อง  “ทำให้หลายๆคนเหนื่อยใจ” ต่อไปอีก

    เวลานี้ ผู้คนในยุโรป  หลายคนอาจจะยังมี “ความสุข” อยู่  หลายคนเริ่มที่จะมี “ความทุกข์” แล้ว  หลายคนอาจทน “ทรมาน” มานานแล้ว  และหลายคนอาจไม่อยากจะ “มีชีวิตอยู่” ต่อไปแล้ว

    วันนี้ เราเพิ่งเริ่มต้นคุยกันแค่ 2 เรื่องเท่านั้นเอง ซึ่งเราก็รู้ว่า  “กลุ่มประเทศยูโรโซน” มีขนาดเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบสูงที่สุด ต้องมีขนาดของเงินช่วยเหลือซึ่งอาจจะมากที่สุด และ  วิกฤตหนี้ยุโรปครั้งนี้ก็อาจจะเป็น “วิกฤต..เลวร้ายที่สุด” ครั้งหนึ่งของโลก

    ตอนต่อไป เราจะคุยกันต่ออีก 2 ข้อที่เหลือนะครับ   : )

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    2,623 views  136 Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Sorry, comments for this entry are closed at this time.

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2489639เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS