doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    11 กรกฎาคม 2555

    1,555 views

    “เมอร์เคิล กำลังพายูโรโซน..หลงทาง”

    พิมพ์หน้านี้

     

    คอลัมน์:  หุ้นส่วน ประเทศไทย

    “เมอร์เคิล กำลังพายูโรโซน..หลงทาง”

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.facebook.com/doctorweraphong

    “จอร์จ โซรอส” เป็นชื่อที่คุณผู้อ่านหลายท่านเมื่อได้ยินชื่อนี้แล้วก็อาจจะร้องอ๋อ เพราะว่าจอร์จ โซรอส คนที่ได้ฉายาว่า “พ่อมดการเงิน” และอาจกล่าวได้ว่าเป็นคนหนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี 2540  โดยการใช้กองทุนควอนตัมฟันด์ของเขาและบรรดาพันธมิตรโจมตีค่าเงินบาท จนในที่สุดทำให้ประเทศไทยต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540  โซรอสได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ “นางแองเจลา เมอร์เคิล” นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมัน โดยกล่าวโจมตีว่าเธอกำลังนำพา “ยูโรโซน” ไป “ผิดทาง”

    จอร์จ โซรอส  ได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Der Spiegel ของเยอรมันว่า เขาเองสนับสนุน นางเมอร์เคิลที่จะปฏิรูปยูโรโซน แต่เขาเองไม่คิดว่าแผนการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จ โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

    หนึ่ง  นโยบาย “สองขั้น” ของนางเมอร์เคิล  ยังมีปัญหาอยู่

    เพื่อที่จะปฏิรูปนโยบายการเงินและการคลังของบรรดาประเทศที่มีปัญหา นางเมอร์เคิล ผู้ที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในกลุ่มยูโรโซน ได้ออกนโยบายสองขั้นคือ ขั้นที่หนึ่ง ออกมาตร “การรัดเข็มขัด” และปรับปรุงโครงสร้างการเงิน ขั้นที่สอง  ออกมาตรการ “กระตุ้นเศรษฐกิจ”  แต่ปัญหาที่เป็นอยู่ในเวลานี้คือ มาตรการรัดเข็มขัดมีการบังคับใช้อย่าง “เต็มพิกัด” จนก่อให้เกิดปัญหาการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของยุโรป พร้อมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างการเงินที่จะให้ลดการขาดดุลอย่างรุนแรง จึงอาจกล่าวได้ว่า ขั้นตอนที่หนึ่งของแผนดังกล่าว ทำให้ประเทศเหล่านี้ บอบช้ำอย่าง “แสนสาหัส” อยู่ในเวลานี้

    ในขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โซรอสกล่าวอย่างฟันธงลงไปว่า “ไม่เพียงพอ” เยอรมันประเทศที่เกือบทุกคนมุ่งหวังว่าให้เป็นเจ้าภาพในการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ แต่เยอรมันเองมีรัฐธรรมนูญที่ต้องรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด เยอรมันจึงไม่อาจนำเอาเงินภาษีของประชาชนเยอรมันไปช่วยได้อย่างเต็มที่ จึงเป็นไปไม่ได้ว่า “เยอรมัน” ประเทศเดียวจะช่วยได้ แต่มันจะต้องเป็น “ทุกประเทศ” ในกลุ่มยูโรโซนต้องช่วยกัน

    สอง  “วงจรอุบาทว์” ได้เกิดขึ้นแล้ว

    โซรอส ได้กล่าวถึงบรรดาประเทศที่มีปัญหาว่า ประเทศเหล่านั้นจะต้องปรับปรุง “ความสามารถในการแข่งขัน” ซึ่งความสามารถดังกล่าว  จะมาได้ก็จะต้องทำสิ่งเหล่านี้ นั่นคือ ลดค่าจ้างแรงงาน  นำไปสู่ต้นทุนสินค้าที่ลดลง แต่เมื่อลดค่าจ้างแรงงาน..ลดต้นทุนแล้ว ก็จะทำให้ภาษีรายได้..ลดลงตามไปด้วย ทำให้การขาดดุลงบประมาณก็ยังไม่สามารถที่จะลดลงได้ ส่งผลให้มาตรการรัดเข็มขัดก็ยังคงอยู่  กดดันค่าจ้างแรงงานให้ต่ำต่อไป และนี่คือ “วงจรอุบาทว์”  ที่เป็นอยู่ในขณะนี้

    สาม  จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์  “พระเอกตัวจริง”

    โซรอส ยังคงให้เครดิตกับนักเศรษฐศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อ “จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์” (อ่านเรื่องของเคนส์ได้ที่ http://www.doctorwe.com/variety/20120604/1570) โดยกล่าวถึงคำพูดของเคนส์ที่ว่า ในยามที่เกิดภาวะความต้องการสินค้าที่ลดลงนั่นคือ เศรษฐกิจไม่ดีอันเนื่องมาจากมาตรการการรัดเข็มขัดก็ทำให้ผู้คนไม่อยากซื้อของ ซึ่งจะต้องแก้ไขด้วยนโยบายภาครัฐที่จะต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ เมื่อระบบมีเงินมากขึ้น ก็จะทำให้ผู้คนมีเงินมากขึ้น คนก็จะเริ่มซื้อของ ก็จะทำให้คนมีงานทำมากขึ้น แล้วก็จะผลิตสินค้าออกมามากขึ้น ของก็จะขายได้มากขึ้น และรัฐบาลก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น ในที่สุดก็จะสามารถ “หลุด” ออกจากวงจรอุบาทว์ได้

    สี่   นโยบายของกลุ่มยูโรโซน  “ออกแบบ” มาเพื่อใช้กับเยอรมัน

    อาจปฏิเสธไม่ได้ว่า  อิทธิพลของเยอรมันที่ต้องการให้ ทุกคนต้องมี “ระเบียบวินัย” ซึ่งอาจใช้ได้กับ “คนเยอรมัน” เท่านั้น แต่ไม่สามารถใช้ได้กับคนในประเทศอื่นในกลุ่มยูโรโซน กรีซ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด เพราะกรีซได้เอา “เครดิตของเยอรมัน”ในนามของยูโรโซนไปใช้ และได้อาศัยเครดิตดังกล่าวไปกู้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อนำมา “ปรนเปรอ” คนในประเทศ และ “บาปกรรม” ที่กรีซได้ก่อไว้  ก็ตามมาจนถึงคนกรีซในยุคนี้จนได้ ที่จะต้องรัดเข็มขัดอย่างสุดชีวิตเพื่อนำเงินไปจ่ายหนี้ที่รัฐบาลตนได้ก่อไว้

    อิตาลี เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ยัง “เอาเปรียบเพื่อนๆ” อยู่ เมื่อพันธบัตรของอิตาลีที่ต้องขายออกมาที่อัตราดอกเบี้ยสูงๆ ก็ทำให้อิตาลีเริ่มยอมที่จะออกมาตรการรัดเข็มขัดออกมาบ้าง แต่พอธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมาบอกว่า จะช่วยระดมซื้อพันธบัตรอิตาลี ก็ทำให้อัตราดอกเบี้ยตกลงมา และรัฐบาลอิตาลีก็สามารถกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำดังกล่าว มาตรการรัดเข็มขัดต่างๆ ที่จะออกมา “ช่วยชาติ”  แต่ “ขัดใจประชาชน” จึงเป็นหมัน นายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี อดีตประธานาธิบดีอิตาลี เคยพูดไว้ว่า “ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว อิตาลีจะต้องปฏิรูปเศรษฐกิจไปทำไม?”

    ห้า   “ล้อมรั้ว” เฉพาะประเทศ ที่ “มีปัญญา..ช่วยได้”

    สเปน ได้พยายามออกมาตรการรัดเข็มขัดตามคำแนะนำของเยอรมัน ซึ่งก็เป็นดั่งคาด เศรษฐกิจสเปนก็เริ่มแย่ลง หนี้สินก็มีขนาดโตขึ้นและโตขึ้น ทำให้ต้องออกมาตรการรัดเข็มขัดเพิ่มขึ้นไปอีก แล้วมันก็เข้าสู่ “วงจรอุบาทว์” อีกครั้งหนึ่ง โซรอสยังพูดถึง กรีซ อีกด้วยว่า ยูโรโซนควรจะ “ล้อมรั้ว” สำหรับบรรดาประเทศที่กลุ่มยูโรโซนยังจะพอ “ช่วยไหว” เท่านั้น ส่วนกรีซนั้น โซรอสกล่าวว่าปล่อยให้กรีซไปตามทางของกรีซเอง..จะดีกว่า

    มาถึงตรงนี้แล้ว คุณผู้อ่านคงพอจะรู้แล้วว่า จอร์จ โซรอส อยากให้กลุ่มยูโรโซนทำยังไงกับ “กรีซ”? ทำให้นึกถึงคำพูดของ Benjamin Franklin นักการเมืองและนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวไว้ว่า “God helps those who help themselves.” แปลตามความได้ว่า “พระเจ้าจะช่วยคน… ที่ช่วยตัวเอง เท่านั้น” และถ้าพระเจ้าในเรื่องนี้เป็น “นางเมอร์เคิล” แล้ว คุณผู้อ่านคิดว่า “พระเจ้า” ในเรื่องนี้ จะช่วย “กรีซ” หรือไม่?      : (

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    1,555 views  138 Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Sorry, comments for this entry are closed at this time.

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2489640เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS