doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    12 กันยายน 2555

    4,257 views

    เบน เบอร์นันเก้ อาจตาย…เพราะ “ไม้ตาย”

    พิมพ์หน้านี้

     

    คอลัมน์:  หุ้นส่วน ประเทศไทย

    เบน เบอร์นันเก้  อาจตาย…เพราะ “ไม้ตาย”

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.facebook.com/doctorweraphong

    มาตรการผ่อนคลายทางการเงินครั้งที่ 3 (Quantaitaive Easing 3 –QE3) ที่นักลงทุนหลายคนเฝ้ารอคอยอย่างใจจดใจจ่อว่า เมื่อไรจะมีมาตรการนี้ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจของโลกอีกครั้งหนึ่ง โดยมีสาเหตุมาจากมาตรการผ่อนคลายทางการเงินครั้งที่ 1 และ 2 (QE1, QE2)  ได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกต่างปรับสูงขึ้นโดยถ้วนหน้า รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทอง น้ำมัน สินค้าการเกษตร ต่างก็พลอยได้รับอานิสงส์ราคาเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จึงทำให้นักลงทุนทั่วโลกต่างเฝ้าคอยเพื่อหวังจะแสวงหากำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำจากราคาที่เพิ่มขึ้น

    เบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve) ผู้มีอำนาจในการออกมาตรการดังกล่าว เขาเองมักจะทำท่ากลับไปกลับมาว่าจะออกมาตรการดังกล่าวดีหรือไม่ จนนักลงทุนและตลาดหุ้นทั่วโลกออกอาการสิ้นหวัง และคิดว่ามาตรการดังกล่าวคงไม่ได้ออกมาแน่ แต่เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เบอร์นันเก้ได้ออกมากล่าวถึงการออกมาตรการ QE3 อย่างจริงจัง  เบอร์นันเก้ได้พูดถึงว่า…“เศรษฐกิจได้กลับมาซบเซาอีกครั้งหนึ่งในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหน้าที่ของเฟด.. ที่จะต้องทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวใหม่” และหนึ่งในนั้นที่เฟดจะทำก็คือ การออกมาตรการ QE3 ซึ่งถือได้ว่า  QE3  เป็น  “ไม้ตาย”  ของ เบน เบอร์นันเก้ ซึ่งคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น และคาดว่าจะมีตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นถึง 2 ล้านตำแหน่ง หลังคำปราศรัยของ เบอร์นันเก้ ส่งผลทันทีให้ราคาทองคำในบ้านเราพุ่งขึ้นในวันเดียวถึง 300 บาท (2 กันยายน 2555)

    ฟังแล้ว… ดูเหมือนว่า จะมีแต่ “ข่าวดี” เต็มไปหมด แต่นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันนามว่า  อีธาน แฮริส กลับออกมาพูดว่า แม้ว่าเฟดจะพยายามออกมาตรการใดๆในเวลานี้ออกมาก็ตาม ก็ไม่สามารถช่วยเศรษฐกิจในเวลานี้ให้ฟื้นขึ้นมาได้ ด้วยเหตุผลดังนี้ครับ

    หนึ่ง   ปัญหา “หน้าผาแห่งการคลัง” (Fiscal Cliff) 

    ผมเคยอธิบายถึง Fiscal Cliff ไว้ว่า มันคือช่วงเวลาที่เศรษฐกิจอเมริกาอาจกลับมาซบเซาอีกครั้งหนึ่ง จากปัญหาที่มาตรการลดภาษีและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะหมดอายุพร้อมๆกันในสิ้นปีนี้ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่  http://www.doctorwe.com/variety/20120902/3132 ) ดังนั้นเศรษฐกิจของอเมริกาก็คงจะดีขึ้นยาก

    มีนักลงทุนหลายรายคิดว่า หลังการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีคนใหม่กับสภาคองเกรส คงช่วยกันรีบออกนโยบาย “ขยายเวลา” มาตรการลดภาษีและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่คาดว่ามันจะสายไปเกินไป เนื่องจากบรรดานักลงทุนจะชะลอการลงทุนทั้งหมดไว้ก่อน จนกว่าจะได้เห็นภาพการแก้ไขปัญหา Fiscal Cliff ที่ชัดเจนหลังเลือกตั้งอเมริกา

    สอง   อนาคต…อเมริกา จะมีเงินกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยลง

    มิตต์ รอมนี่ย์  คู่แข่งในการเลือกตั้งของประธานาธิบดีโอบามา ได้เลือกนายพอล ไรอัน  ซึ่งรู้กันดีว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านงบประมาณ และคาดว่าพรรครีพับลีกันจะตัดงบประมาณค่าใช้จ่ายและเพิ่มภาษีเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ ดังนั้นถ้าพรรคนี้ชนะ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆก็คง…คงจะไม่ได้โผล่หัวออกมาแน่!

    แต่ถ้าประธานาธิบดีโอบามา..เกิดชนะขึ้นมา การที่จะหวังว่ามาตรการต่างๆที่เป็นอยู่ตอนนี้ จะได้ต่ออายุทั้งหมดนั้น  บางส่วนก็อาจต้องเป็น “ความฝัน” ไป เพราะ พรรครีพับลิกันคงไม่ยอมอย่างแน่นอน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็คง…. “เหลือแค่บางตัว” เท่านั้น

    สาม  มาตรการที่ “แสนสับสน” ของเฟด (ธนาคารกลางอเมริกา)

    เบน เบอร์นันเก้  ต้องการให้ “อัตราดอกเบี้ยต่ำๆ” เพื่อที่จะให้ภาคเอกชนอยากลงทุนมากๆ เพราะต้นทุนดอกเบี้ยต่ำ จึงพยายามเสนอมาตรการลดดอกเบี้ยออกมาครั้งแล้วครั้งเล่า รวมถึงที่ปราศรัยออกไปล่าสุด  คาดว่าจะลดให้เหลือเพียง  1.65 %

    แต่ในความเป็นจริง เฟดก็ไปลด Net Interest Margin หรือที่เราเรียกว่า สเปรด (Spread)   หรือส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยลงไปด้วย เช่น สมมุติว่าธนาคารกู้มา 2%  แต่เฟดบังคับให้ปล่อยกู้ที่ 6% แสดงว่า   ธนาคารจะได้กำไรแค่ 4% หักค่าใช้จ่ายพนักงาน ออฟฟิส อื่นๆ รวมทั้ง “ค่าถูกเบี้ยวหนี้” แล้ว ธนาคาร  ก็บอกว่า  “ขาดทุน….ทำไม่ได้” ทุกวันนี้ในอเมริกาก็เหมือนกัน เฟดไปกดดันธนาคารให้เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำๆ เพื่อให้เอกชนจะได้ต้นทุนต่ำๆจะได้อยากลงทุน ธนาคารก็เลยดึงเรื่องให้ช้าๆ เพราะยิ่งปล่อยกู้ไป…ก็ยิ่งขาดทุน ธนาคารคงคิดว่า   “ข้า..อยู่เฉยๆดีกว่า ..ไม่ขาดทุน..ไม่เจ็บตัว”

    สี่   QE3  จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ…ได้จริงหรือ ?

    คำกล่าวปราศรัยของเบอร์นันเก้ ที่เชื่อมั่นกับผลสำเร็จของมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE) ที่ผ่านมา ว่าสามารถทำให้ตลาดหุ้นพุ่งกระฉูด ประชาชนมีความเชื่อมั่นและ “มีเงิน” และก็อยาก “ใช้เงิน” นั้น ในเวลานี้ตลาดหุ้นนิวยอร์ค ดัชนี S&P 500  มีค่า  “ราคาต่อกำไร” (P/E ratio) อยู่ที่ 17 เท่าแล้ว คนที่เล่นหุ้นอยู่คงรู้ดีว่ามันสูงแค่ 15 เท่า  ตลาดก็มี “ภาวะเก็งกำไร” สูงแล้ว แต่ตอนนี้มันสูงตั้ง 17 เท่า ตลาดหุ้นจะ “พุ่งขึ้นไปได้อีกเท่าไร?”  กัน

    เบน เบอร์นันเก้ อาจจะลืมไปว่า ตอนนี้ไม่ใช่ปี 2551  ในปีนั้นเลห์แมน บราเดอร์สล้มละลายไป และ P/E ของตลาดหุ้นตอนนั้นบางช่วงต่ำกว่า 10 เท่าเสียอีก เมื่อออก QE ออกมาจึงทำให้ตลาดหุ้นพุ่ง ส่วนปีนี้ถ้าออกมาตรการ QE3 ออกมาแล้ว ตลาดหุ้นจึงพุ่งกระฉูดขึ้นได้จริงหรือ?

    แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดก็คือ….  ถ้าเฟดออกมาตรการ QE3 ออกมาแล้ว…

    ปรากฏว่า ไม่ได้ผล…   ตลาดหุ้นพุ่งขึ้นนิดหน่อย…

    แต่ผู้คน..   “ยังไม่กล้าใช้เงิน”  

    ผู้คน..       “ยังตกงานบานเบอะ”

    และเศรษฐกิจก็ยังคง..   “ไม่ยอมโผล่หัวพ้นน้ำ”

    ถ้าเป็นอย่างนั้น    คุณเบน..อาจตาย  เพราะ “ไม้ตาย” ของตน ก็เป็นได้

     

     

     

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    4,257 views  101 Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485128เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS