doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    10 ตุลาคม 2555

    11,777 views

    กลยุทธ์ซื้อหุ้นปี 2556 ของ..บัฟเฟตต์

    พิมพ์หน้านี้

     

    คอลัมน์:  หุ้นส่วน ประเทศไทย

    กลยุทธ์ซื้อหุ้นปี 2556 ของ..บัฟเฟตต์

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.facebook.com/doctorweraphong

    วอร์เรน บัฟเฟตต์ อภิมหากูรูนักลงทุนที่อาจกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จสูงที่สุดในโลก จนกลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่รวยที่สุดในโลกไปแล้ว ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่ว่าบัฟเฟตต์จะเคลื่อนไหวในการซื้อหรือขายทั้งหุ้นและกิจการอะไรก็ตาม ก็มักจะถูกจับตามองจากผู้คนทั่วโลก ในปัจจุบันและปีหน้า 2556 บัฟเฟตต์ได้เริ่มส่งสัญญาณการเข้าซื้อหุ้นและการเข้าซื้อกิจการอีกหลายแห่งทั่วโลก ซึ่งพอจะจำแนกกลยุทธ์พร้อมทั้งเหตุผลได้ดังนี้ครับ

    หนึ่ง เน้นการซื้อกิจการที่ใช้เงินลงทุนสูง

    ทอดด์ โลเวนสไตน์ (Todd Lowenstein) ผู้จัดการกองทุนไฮมาร์คแคปปิตอลแมนเนจเมนท์ (Highmark Capital Management) ได้พูดถึงบัฟเฟตต์ว่า “ปัญหาของบัฟเฟตต์ในขณะนี้..เป็นปัญหาที่พวกเราทุกคนอยากจะมี นั่นก็คือ เขามีเงินมากเกินไป”  ปัจจุบันพบว่าบัฟเฟตต์สามารถสร้างกระแสเงินสดผ่านบริษัทเบิร์กไชร์ ฮาทาเวย์ บริษัทของเขาสูงถึงเดือนละ 1 พันล้านดอลลาร์ และยังพบต่อไปอีกว่าบัฟเฟตต์มีเงินสดในมือมากกว่า 37.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาล

    ทิม กริสคีย์ (Tim Ghriskey) ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุนของกลุ่มโซลาริสกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า “ถ้ามีโอกาสรออยู่ บัฟเฟตต์จะซื้อแต่กิจการที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ๆเท่านั้น เพราะเขารู้ว่ากิจการที่มีการลงทุนขนาดเล็กจะไม่สามารถทำให้เบิร์กไชร์มีผลประกอบการที่ดีขึ้นมาได้”

    สอง ธุรกิจแบบพื้นฐาน..ที่มั่นคง แต่อนาคตไกล

    บัฟเฟตต์ยังคงไม่ชอบลงทุนในธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะกลุ่ม App Economy ที่นำแถวโดย Apple, Google, Amazon เป็นต้น ด้วยเหตุผลเดิมๆของบัฟเฟตต์ที่ว่า “ผมไม่เข้าใจโมเดลธุรกิจ ดังนั้นผมก็จะไม่ลงทุนซื้อหุ้น”

    บัฟเฟตต์ยังคงชื่นชอบในการลงทุนในอุตสาหกรรมพื้นฐาน ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ การเข้าซื้อกิจการรถไฟเบอร์ลิงตัน นอร์ธเทิน ซานตาเฟ ซึ่งเข้าซื้อกิจการนี้ด้วยเงินสูงถึง 34 พันล้านดอลลาร์ เขาซื้อกิจการรถไฟเพราะ เขามั่นใจว่าในอนาคตอันใกล้นี้ราคาน้ำมันจะยิ่งมีราคาสูงขึ้น และการขนส่งผ่านทางรถไฟจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งจะทำให้สามารถปรับราคาขนส่งเพิ่มขึ้นได้ และจะนำมาซึ่งกำไรก้อนโตนั่นเอง

    สาม ผู้นำตลาด..ก็คงยังเป็น “ผู้นำตลาด”

    หากคุณผู้อ่านพอจำกันได้ หนึ่งในหุ้นที่บัฟเฟตต์ตั้งใจจะถือไว้โดยไม่ขายออกไปเลย นั่นก็คือ หุ้นโคคาโคลา ซึ่งเป็นบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจน้ำอัดลมสูงที่สุดในโลก บัฟเฟตต์ยังคงให้ความสำคัญกับการเป็น “ผู้นำตลาด” ของบริษัทที่เขาคิดที่จะเข้าไปซื้อกิจการอยู่ดี

    ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว บัฟเฟตต์ได้ซื้อบริษัท ลูบริซอล (Lubrizol) ซึ่งเป็นผู้นำตลาดทางด้านผลิตภัณฑ์หล่อลื่นด้วยเงินสูงถึง 9 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนั้นเขายังสนใจที่จะซื้อบริษัท เฮงเกล (Henkel) ในประเทศเยอรมนี ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กาว และสารเคมีอื่นๆ บริษัทนี้ยังเป็นเจ้าของกาวที่มีความเหนียวสูงยี่ห้อ ล็อคไทล์ (Loctile) ซึ่งขายดีเป็นอันดับหนึ่งของโลก ผลิตภัณฑ์ของบริษัทยังกินส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของตลาดโลก ปัจจุบันยังพบต่อไปอีกว่า เฮงเกลเป็นผู้ป้อนผลิตภัณฑ์กาวและสารเคมีให้กับบริษัท แอร์บัส ซึ่งเป็นผู้สร้างเครื่องบินพาณิชย์รายใหญ่ของโลกอีกด้วย

    สี่ บริษัทที่มี “แบรนด์” จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ดีกว่า

    บัฟเฟตต์ได้วางแผนเข้าไปซื้อกิจการบริษัท เดียร์ (Deere) ผู้นำทางด้านเครื่องจักรการเกษตรของสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าสูงถึง 32.2 พันล้านดอลลาร์ แม้ว่าเดียร์จะมีมูลค่าการตลาดสูงมากถึงเพียงนั้น บัฟเฟตต์ก็ยังคงชื่นชอบบริษัทที่มี “แบรนด์” อยู่ดี

    ปัจจุบันสินค้ายี่ห้อ “เดียร์” มีการพัฒนาทางด้านจักรกลการเกษตรอยู่ตลอดเวลา และไม่ว่าเดียร์จะผลิตเครื่องจักรการเกษตรอะไรออกมาสู่ตลาดก็ตาม ก็มักจะได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี นอกจากนั้นผลกำไรของเดียร์ก็น่าประทับใจมาก โดยมีผลกำไรสูงถึง 33 เปอร์เซ็นต์ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

    ห้า  “ราคาสินค้าเกษตร” จะมีแต่..สูงขึ้น

    ผมเคยเขียนถึงกูรูนักลงทุนที่ชื่อ จิม โรเจอร์ส ที่พูดถึง “ราคาสินค้าเกษตร” (อ่านในโพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 22 มีนาคม 2555 หรือ http://www.doctorwe.com/posttoday/20120322/257 ) ไว้ว่าในอีก 20-30 ปีข้างหน้า จะเกิดปัญหาการขาดแคลนเกษตรกรจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ผลผลิตทางการเกษตรเกิดการขาดแคลนตามไปด้วย โดยสาเหตุมาจากการที่คนหนุ่มสาวย้ายเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้น เพราะได้เงินพอๆกัน..แต่ทำงานสบายกว่า และที่สำคัญคือได้มีโอกาสสังคมกับคนอื่นไปด้วย เขายังเชื่อต่อไปว่า เมื่อไร..ที่ของขาด เมื่อนั้น..ราคาสินค้าเกษตรก็จะต้องขึ้นอย่างแน่นอน

    เช่นเดียวกัน บัฟเฟตต์ก็มีความเชื่อว่าในอนาคต..ราคาสินค้าเกษตรจะต้องสูงขึ้นมากอย่างแน่นอน โดยเขากล่าวว่า “อีก 100 ปีข้างหน้า ผลผลิตทางการเกษตรจะมีราคาสูงกว่า..ทองคำ ซึ่งก็เห็นกันอยู่แล้วว่า ราคาสินค้าเกษตรในปี 2554 นั้น มันสูงเป็น 6 เท่าของราคาสินค้าเกษตรเมื่อ 10 ปีก่อน”  เมื่อปีที่แล้วบริษัท เดียร์ ขายเครื่องจักรการเกษตรสูงถึง 24 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งก็คาดกันว่าในปี 2563 ยอดขายของเดียร์จะสูงถึง 50 พันล้านดอลลาร์ทีเดียว

    แต่ไม่ว่าบัฟเฟตต์จะมีกลยุทธ์การลงทุนหรือการซื้อหุ้นอย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เขาสามารถซื้อกิจการหรือหุ้นนั้นๆได้ใน “ราคาที่ถูก” ทำให้นึกถึงคำพูดของบัฟเฟตต์ที่พูดเกี่ยวกับราคาหุ้นไว้ว่า “Price is what you pay. Value is what you get.” แปลตามความได้ว่า “ราคา..คือสิ่งที่เราจ่ายไป มูลค่าที่แท้จริง..คือสิ่งที่เราได้มา”

     

     

     

     

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    11,777 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485129เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS