doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    27 พฤศจิกายน 2555

    33,755 views

    กรีซ: ประชานิยม…แห่ง “ความฉิบหาย” ตอนที่ 1

    พิมพ์หน้านี้

     

     

     

    คอลัมน์:  หุ้นส่วน ประเทศไทย

    กรีซ: ประชานิยม…แห่ง “ความฉิบหาย”  ตอนที่ 1

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.facebook.com/doctorweraphong

    ผมเคยเขียนบทความที่ชื่อ “กรีซ ประเทศฉิบหาย..ช่างมัน ขอให้ข้า..ชนะก่อน” ลงในโพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 (อ่านได้ที่ http://www.doctorwe.com/posttoday/20110707 ) ที่ได้พูดถึงบรรดานักการเมืองของกรีซที่ทำทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้ตนเองได้มาซึ่งชัยชนะในการเลือกตั้งให้จงได้ ดังนั้นมาตรการประชานิยมแบบสุดโต่งจึงถูกขุดขึ้นมามาตรการแล้วมาตรเล่า ซึ่งมันได้สร้าง “ความฉิบหาย” อย่างรุนแรงให้แก่ประเทศที่น่าอยู่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

    ทุกวันนี้ “ความฉิบหาย” ดังกล่าว มันได้แพร่ระบาดเข้าไปเกือบทุกอณูของผู้คนชาวกรีซทั้งประเทศแล้ว ผมจึงอยากขอลำดับเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้คุณผู้อ่านสามารถเข้าใจถึงความหนักหนาอย่างแสนสาหัสของ “ความฉิบหาย” ที่มันเป็นอยู่จริงๆในเวลานี้ ดังนี้ครับ

    หนึ่ง ประชานิยม แบบ “สุดโต่ง” เป็นอย่างไร ?

    ในอดีต..กรีซมีพรรคใหญ่ที่ยึดครองเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอยู่ 2 พรรคคือ พรรค Panhellenic Socialist Movement ซึ่งมักจะเรียกพรรคนี้ว่า พรรค PASOK และอีกพรรคหนึ่งคือพรรคประชาธิปไตยใหม่ซึ่งมักจะเรียกกันว่า พรรค ND ทั้งสองพรรคต่างใช้นโยบายประชานิยมอย่างเต็มพิกัดเพื่อเอาชนะในการเลือกตั้งตลอดมา เริ่มจาก…

    ปี 2539 มีการสัญญาว่า..กรีซจะได้เป็นสมาชิกสหภาพการเงินยุโรป สัญญาว่า..ดอกเบี้ยจะถูก สัญญาว่า..ทุกคนจะมีงานทำ สัญญาว่า..ทุกคนจะได้ค่าแรงเพิ่ม จากนั้นรัฐบาลกรีซก็ได้สร้างปาฏิหารย์โดยการลดอัตราเงินเฟ้อจาก 15 เปอร์เซ็นต์เหลือเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ และทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจอีกหลายตัวดีขึ้นจนเข้าเกณฑ์ของกลุ่มประเทศในยูโรโซน

    ปี 2544 กรีซจึงได้เข้าเป็นสมาชิก และได้ใช้เงินสกุลยูโรเป็นเงินสกุลหลักของประเทศ รัฐบาลจึงประกาศ อัตราค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นปีละ 3 เปอร์เซ็นต์ทุกปี มียกเว้นภาษีทั้งหมดสำหรับการซื้อรถยนต์คันใหม่ และไม่มีการขึ้นค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่นๆ เพื่อเป็น “การเอาใจ..แบบสุดๆ” แก่ประชาชนชาวกรีซ แต่ภายหลังกลับพบว่า รัฐบาลกรีซ “ตกแต่งตัวเลข” ในเอกสาร ทำให้เข้าเกณฑ์ของสหภาพยุโรป แต่ในความเป็นจริง กรีซ..ยังคงมีเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่

    ปี 2547 สัญญาว่า..กรีซจะได้จัดกีฬาโอลิมปิค สัญญาว่า..กรีซจะได้ใช้ “อินเทอร์เน็ตแห่งชาติ” สัญญาว่า..ทุกคนจะมีงานทำ สัญญาว่า..ทุกคนจะได้ค่าแรงเพิ่ม ในปีนี้เองที่ประเทศกรีซได้เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิคสมดั่งใจปรารถนา  แต่ค่าใช้จ่ายรวมที่ใช้ในการจัดอยู่ที่ 7 พันล้านยูโร ทะลุงบประมาณเดิมที่ตั้งไว้กว่าสองเท่า ทำให้ในปีนั้นกรีซขาดดุลงบประมาณสูงถึง 5.3 เปอร์เซ็นต์ และก่อให้เกิดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล แต่ประชาชนมีความสุขเพราะ มีงานทำ…และได้ค่าจ้างสูง…ตรงกับที่สัญญาไว้ นอกจากนั้นรัฐบาลยังใช้งบประมาณต่อไปอย่างไม่ยั้งมือ เช่น โครงการ “อินเทอร์เน็ตแห่งชาติ” ที่ใช้เงินสูงถึง 210 ล้านยูโร และเชื่อว่าจะเป็นระบบอินเทอร์เน็ตสาธารณะที่ดีที่สุดในยุโรป

    ปี 2552 ช่วงปลายของรัฐบาลได้มีการออกนโยบายอย่างมากมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างมโหฬาร รัฐบาลจึงประกาศไม่ขึ้นเงินเดือนและไม่มีการรับข้าราชการเพิ่ม ส่งผลให้ประชาชนของกรีซที่เสพติดกับมาตรการประชานิยมทำการต่อต้าน และท้ายที่สุด…รัฐบาลก็แพ้การเลือกตั้ง

    ในปีเดียวกัน พรรคฝ่ายค้านสัญญาว่า..จะมีการขึ้นค่าแรงต่อไป สัญญาว่า..จะไม่มีการลดค่าแรง สัญญาว่า..580 อาชีพจะเกษียณก่อนวัยที่อายุ 50 ปี พรรคฝ่ายค้านจึงชนะการเลือกตั้งและได้เป็นนายกรัฐมนตรี นโยบาย “เกษียณก่อนวัย”..ทำได้จริง ประชาชนกรีซที่มีอาชีพจำนวนกว่า 580 อาชีพ เกษียณได้เมื่อผู้หญิงอายุได้ 50 ปีและผู้ชายอายุได้ 55 ปี และพบว่า กรีซได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่ประชาชนสูงถึง 7 แสนคนหรือคิดเป็น 14 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานทั้งหมด โดยกรีซมีตัวเลขเฉลี่ยของอายุเกษียณอยู่ที่ 61 ปี ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขเฉลี่ยของคนเกษียณอายุที่ต่ำที่สุดในกลุ่มสมาชิกสหภาพการเงินยุโรป

    สอง   ในที่สุด กรีซก็ไม่สามารถหนีพ้น “กรรม..ที่ก่อไว้”

    ปี 2553 รัฐบาลเริ่มพบว่า รัฐบาลไม่สามารถหาเงินมาจ่ายสำหรับพันธบัตรของกรีซที่ครบอายุได้ ดังนั้นกรีซจึงขอความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หลังจากการเจรจา 10 วันเต็มได้ข้อสรุปว่าทั้งสองฝ่ายจะให้เงินกู้แก่กรีซเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 110,000 ล้านยูโร

    แต่ “เงินกู้จำนวนมหาศาล” ดังกล่าวไม่ได้มาฟรีๆ มันต้องแลกกับการที่กรีซจะต้องลดการขาดดุลงบประมาณครั้งใหญ่ และการออกมาตรการในการรัดเข็มขัดอย่างเข้มข้น เช่น การไม่ขึ้นเงินเดือนทั้งภาครัฐ เอกชน และการงดจ่ายเงินโบนัสเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน การเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 21 เปอร์เซ็นต์ไปเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ และการเพิ่มภาษีสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

    หลังการประกาศมาตรการ… ประชาชนกรีซก็แสดงความโกรธแค้นออกมาอย่างทันควัน คนนับหมื่นนับแสนในกรุงเอเธนส์หยุดงานและออกมาประท้วงต่อมาตรการดังกล่าว ทั้งเมืองเอเธนส์กลายเป็นอัมพาตหลายต่อหลายครั้ง ปัญหาการเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวของกรีซยังคงต้องดำเนินต่อไปจนถึงเวลานี้

    เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ประชาชนชาวกรีซกว่า 25,000 คนก็ได้ร่วมกันแสดงพลังความโกรธแค้นต่อการมาเยือนกรีซเพียง 6 ชั่วโมงของนางแองเจลา เมอร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กแห่งเยอรมนี โดยมีผู้ประท้วงคนหนึ่งที่ตะโกนออกมาว่า “Merkel, we are a free nation and not your colony” แปลตามความได้ว่า “เมอร์เคิล.. เราเป็นชาติที่มีอิสรภาพ ไม่ใช่อาณานิคมของคุณ” เสียงประท้วงดังกล่าว อาจบอกว่า จงอย่าใช้มาตรการรัดเข็มขัด “เยี่ยงทาส” กับคนกรีซอีกต่อไป

    ติดตาม  กรีซ: ประชานิยม…แห่ง “ความฉิบหาย” ตอนจบ  ได้ในโพสต์ทูเดย์ …เร็วๆนี้ ครับ

     

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    33,755 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485129เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS