doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    11 เมษายน 2556

    1,894 views

    กรุงเทพฯ..โตช้า หัวเมือง..โตเร็ว เมกะเทรนด์..ที่มาแน่

    พิมพ์หน้านี้

     

     

    คอลัมน์:  หุ้นส่วน ประเทศไทย

    กรุงเทพฯ..โตช้า หัวเมือง..โตเร็ว  เมกะเทรนด์..ที่มาแน่

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.facebook.com/doctorweraphong

    ผมคิดว่าคุณผู้อ่านบางท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า “Bangkok is Thailand. Thailand is Bangkok.”  ซึ่งผมเองเคยได้ยินคำพูดทำนองนี้ซัก 2-3 ครั้งจากเพื่อนชาวต่างชาติที่รู้จักกัน อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า..กรุงเทพฯกำลังจะเปลี่ยนไป และในขณะเดียวกันอีกหลายๆเมืองในประเทศไทยก็กำลังจะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ลักษณะความเป็นเมืองในแต่ละส่วนของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากในช่วงระยะเวลา 5-10 ปีต่อจากนี้ นับจากกรุงเทพฯ ไปถึงบรรดาหัวเมืองต่างๆที่กระจายกันอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

    หนึ่ง  เมื่อถึงเวลาที่  “บรรดาหัวเมือง”..จะโต

    โดยปกติแล้วขนาดของประชากรคนเมืองในเขตเมืองต่างๆในประเทศ มักจะเป็นไปตามกฎความสัมพันธ์เชิงประจักษ์ที่เรียกว่า “กฎลำดับขนาด” (rank-size rule) ที่ว่า เมืองที่มีประชากรคนเมืองมากเป็นอันดับที่ 2 จะมีจำนวนประชากรคนเมืองเป็นครึ่งหนึ่งของเมืองที่มีประชากรคนเมืองมากที่สุด เมืองที่มีประชากรคนเมืองมากเป็นอันดับที่ 3 ก็จะมีจำนวนประชากรคนเมืองเป็นครึ่งหนึ่งของเมืองอันดับที่ 2 เช่นกัน และความสัมพันธ์จะเป็นไปในลักษณะนี้ต่อเนื่องกันไป

    แต่ในประเทศไทยไทยกลับพบว่า คนจำนวนมหาศาลจะอาศัยอยู่กันแต่ในกรุงเทพฯ ซึ่งได้ทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองมากที่สุดในประเทศ ส่วนเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองมากไม่ว่าจะเป็น นครราชสีมา เชียงใหม่ อุดรธานี พบว่าส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่แต่ในอำเภอเมืองเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่ามีจำนวนประชากรคนเมืองที่น้อยมากเมื่อเทียบกับกรุงเทพฯ

    ในประเทศอื่นๆในภูมิภาคพบว่า ในเกาหลีใต้ และมาเลเซีย เมืองที่มีประชากรคนเมืองมากเป็นอันดับที่ 2 ของแต่ละประเทศมีขนาดถึง 36% และ 49% ของเมืองอันดับที่ 1 ของแต่ละประเทศตามลำดับ

    ดังนั้น ประชากรคนเมืองของบรรดาหัวเมืองต่างๆของไทย จึงน่าจะมีโอกาสเติบโตขึ้นได้อีกมาก นอกจากนั้นการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองได้ย้ายออกจากกรุงเทพฯไปสู่บรรดาหัวเมืองไปแล้ว เนื่องจากการที่กรุงเทพฯ เริ่มโตช้าลงเมื่อเทียบกับบรรดาหัวเมืองในจังหวัดอื่นๆ โดยจังหวัดที่มีจำนวนประชากรคนเมืองเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้แก่ นครราชสีมา สงขลา อุบลราชธานี อุดรธานี และชลบุรี เป็นต้น

    สอง  “ผู้บริโภคในเมือง” อยู่ที่ไหน ?

    ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ทำการวิจัยพฤติกรรมของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองพบว่า มีกำลังแรงงานทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 38.3 ล้านคน มีเพียง 11.8 ล้านคนที่อยู่อาศัยในเขตเมือง และมีเพียง 3.7 ล้านคนที่เข้าข่ายกลุ่มผู้บริโภคในเมือง นั่นคือเป็นผู้มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 15,000 บาท และอยู่อาศัยในเขตเมือง โดยมีเพียง 1 ล้านคนที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 35,000 บาท และที่เหลืออีก 2.7 ล้านคนจะมีรายได้อยู่ในระดับ 15,000-35,000 บาทต่อเดือน

    นอกจากนั้น ยังพบต่อไปอีกว่า มีผู้บริโภคในเมืองที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลมีประมาณ 2 ล้านคนคิดเป็นประมาณ 55% หรืออาจกล่าวได้ว่า..มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มีรายได้สูงกว่า 15,000 บาทต่อเดือนอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนอีก 1.7 ล้านคนหรือ 45% ของกลุ่มผู้บริโภคดังกล่าวกระจายตัวไปตามเขตเมืองของจังหวัดต่างๆ

    สาม  การเกิด Urbanization อย่างรวดเร็วในบรรดา “หัวเมือง”

    วศิน วณิชย์วรนันต์ รองกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเกิด “สังคมเมือง (Urbanization)” ไว้ว่า ในบรรดาจังหวัดหัวเมืองต่างๆทั่วประเทศไทยได้เกิด Urbanization ขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหลายจะมีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดด …

    “ตอนนี้ร้านค้าปลีก โมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ทยอยไปเปิดสาขาตามต่างจังหวัดเยอะมาก ส่วนธุรกิจลำดับถัดมาที่จะเติบโตตามไปด้วย เช่น อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ดีลเลอร์รถยนต์ก็จะเข้าไปลงทุนในพื้นที่ที่เกิด Urbanization มากขึ้น จากนั้นสถานศึกษาและโรงเรียนกวดวิชาก็จะเข้าไปตั้งสาขา เป็นโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการสามารถไปลงทุนในธุรกิจเหล่านี้ได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าธุรกิจจะไปไม่รอด”

    สี่  เมื่อ “ภาคอีสาน” เติบโต…มากที่สุด

    สิ่งที่เป็นความจริงอยู่ทุกวันนี้ก็คือ ภาคอีสาน..มีประชากรคนไทยมากที่สุด ภาคอีสาน..มีรายได้ต่อหัวต่ำที่สุด และภาคอีสาน..จะมีจุดเชื่อมต่อกับประเทศอื่นๆในอาเซียนมากที่สุด ผมเองมองว่าแค่เราได้รับรู้ถึงความจริงดังกล่าวทั้ง 3 ข้อ คุณผู้อ่านก็คงพอจะเห็นภาพได้แล้วว่า ภาคอีสาน..ยังจะมีโอกาสที่จะเติบโตด้วยอัตราเร่งหรืออัตราก้าวกระโดดได้อีกมาก

    นอกจากนั้น นโยบาย “ค่าแรงวันละ 300 บาท” ของรัฐบาล ก็ได้ทำให้ประชาชนในภาคอีสานได้รับอานิสงส์ไปอย่างมาก โดยมีคนไทยในภาคอีสานที่ไม่ได้ทำงานในท้องถิ่นของตนเป็นจำนวนมาก แต่ไปทำงานกระจัดกระจายไปทั่วประเทศ คนเหล่านี้ก็จะส่งเงินกลับบ้าน…เพื่อไปใช้หนี้ ..เพื่อไปเลี้ยงดูคนที่ตนรัก หรือแม้กระทั่ง..เพื่อไปลงทุนก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เงินเหล่านี้จะไหลหลั่งมาสู่ภาคอีสาน และสิ่งที่จะตามมาก็คือ โอกาสของบรรดากิจการที่จะสามารถรองรับความต้องการอย่างไม่สิ้นสุดของคนในท้องถิ่นของภาคอีสาน

    ดังนั้น “โอกาส” อาจกำลังมาเยือนคุณผู้อ่านบางท่านอยู่ก็ได้นะครับ ทำให้นึกถึงคำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรที่ชื่อ เบนจามิน ดิสราเอลี (Benjamin Disraeli) ที่พูดไว้ว่า “One secret of success in life is for a man to be ready for his opportunity when it comes.” แปลตามความได้ว่า “หนึ่งในเคล็ดลับความสำเร็จของมนุษย์ก็คือ จงเตรียมตัวให้พร้อมก่อน…ที่โอกาสจะมาถึง”  

     

     

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    1,894 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485039เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS