doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    25 พฤศจิกายน 2556

    1,780 views

    ที่มาของ “รายได้ที่ไม่ต้องทำงาน”

    พิมพ์หน้านี้

     

     

     

     

     

    คอลัมน์:  หุ้นส่วน ประเทศไทย

    ที่มาของ “รายได้ที่ไม่ต้องทำงาน”

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.facebook.com/doctorweraphong

    ความหมายของ “รายได้ที่ไม่ต้องทำงาน” นั้นอาจหมายถึง รายได้ที่ไม่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา หลังจากที่ได้ทุ่มเทความพยายามทั้งสติปัญญา กำลังกาย และกำลังเงิน ในระยะเริ่มแรกเข้าไปแล้ว หลังจากนั้นก็ไม่ต้องเข้าไปทำงานเป็นประจำ เพียงแต่คอยดูแลให้รายได้นั้นๆยังคงหลั่งไหลเข้ามาเท่านั้น

    ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจถึง “อิสรภาพทางการเงิน” อย่างแท้จริง ผมจึงอยากขอให้คุณผู้อ่านย้อนกลับมาดู “สมการแห่งความร่ำรวย” ซึ่งสมการที่ว่านั้นก็คือ

    (รายได้จากการทำงาน + รายได้ที่ไม่ต้องทำงาน) – รายจ่าย      =  เงินออม

    สมมุติว่า เวลานี้คุณไม่ต้องการทำงานประจำและไม่อยากมีรายได้จากการทำงานอีกต่อไปแล้ว ดังนั้นในสมการใหม่นี้รายได้จากการทำงานจะเป็นศูนย์ นั่นคือ

    รายได้ที่ไม่ต้องทำงาน – รายจ่าย                     =             เงินออม

    จากสมการนี้ คุณก็จะสามารถแบ่งกรณีที่จะเกิดขึ้นได้ออกเป็น 3 กรณีด้วยกันคือ

    กรณีที่หนึ่ง  เงินออมต่อเดือน น้อยกว่า…ศูนย์

    สมการที่ออกมาก็คือ

    รายได้ที่ไม่ต้องทำงานต่อเดือน – รายจ่ายต่อเดือน                     <             0

    นั่นหมายความว่า รายได้ที่ไม่ต้องทำงานต่อเดือนมีค่าน้อยกว่ารายจ่ายต่อเดือน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ในแต่ละเดือนจะมีค่าใช้จ่ายเกินรายได้ ทำให้ต้องนำเงินออมที่เก็บไว้ออกมาใช้ด้วย ซึ่งเป็นสภาพที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง

    กรณีที่สอง  เงินออมต่อเดือน เท่ากับศูนย์

    ทุกเดือนที่ผ่านไป..ไม่มีเงินเหลือไว้ให้เก็บออมเลย สมการที่ออกมาก็คือ

    รายได้ที่ไม่ต้องทำงานต่อเดือน – รายจ่ายต่อเดือน                     =             0

    แสดงว่า รายได้ที่ไม่ต้องทำงานต่อเดือนมีจำนวนเงินพอๆกับรายจ่ายต่อเดือน ก็จะทำให้ไม่สามารถมีเงินออมเพิ่มขึ้นได้ กรณีนี้หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เจ็บไข้ได้ป่วย หรืออื่นๆก็จะทำให้เงินออมที่เก็บไว้มีแต่แนวโน้มที่จะลดลงได้ในอนาคต

    กรณีที่สาม  เงินออม มากกว่า…ศูนย์

    สมการที่ออกมาก็คือ

    รายได้ที่ไม่ต้องทำงานต่อเดือน – รายจ่ายต่อเดือน                     >             0

    สมการนี้… หากคุณทำได้ก็แสดงว่า คุณได้เข้าถึง “อิสรภาพทางการเงิน”  แล้ว  ทุกเดือนที่ผ่านไป… เมื่อรายได้ที่ไม่ต้องทำงานหักรายจ่ายแล้ว…ยังมีเงินเหลืออีก ซึ่งจะทำให้ “เงินออมทั้งชีวิต” ของคุณเข้มแข็งพอที่จะให้ตัวคุณเองใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย..ไปจนกระทั่งถึงวันที่คุณต้องจากไป

    ส่วนสุดท้ายที่เกี่ยวกับ “รายได้ที่ไม่ต้องทำงาน” ก็คือ ที่มาของรายได้ที่ไม่ต้องทำงาน จะมาจากเครื่องจักรสำคัญด้วยกัน 2 ตัว คือ

    1. 1.            ธุรกิจแบบ “เครื่องพิมพ์แบงก์”
    2. 2.            การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด…ที่สามารถจัดการความเสี่ยงได้

     

    หนึ่ง  ธุรกิจแบบ “เครื่องพิมพ์แบงก์”

    หากคุณเปิดร้านสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมง แล้วไม่มีระบบจัดการที่ดี รวมถึงไม่มีบุคลากรที่ไว้วางใจได้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ คุณคงจะต้องเข้าร้านไปขายของเกือบจะยี่สิบสี่ชั่วโมงเช่นเดียวกัน เพราะกลัวว่าเงินที่ขายของได้อาจจะเกิดการรั่วไหล ร้านที่ว่านี้..อาจจะขายดี แต่อาจจะกลายเป็น “ทุกขลาภ” ที่จะทำให้คุณเครียด..ไม่มีเวลาพักผ่อน..และอาจไม่สบายได้

    ผมมีตัวอย่างธุรกิจหนึ่งที่พอแสดงให้เห็นได้ว่ามันเป็น “เครื่องพิมพ์แบงก์” จริงๆนั่นคือ ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา  โรงเรียนกวดวิชาที่ผมพูดถึงนี้ จะเป็นโรงเรียนกวดวิชาที่มีการสอนสดและการอัดเทป สิ่งที่อาจต้องเหน็ดเหนื่อยบ้างก็คือ การแสวงหาอาจารย์ยอดฝีมือมาทำการสอน..ท่ามกลางสภาพการแข่งขันที่สูง แต่ถ้าอาจารย์เก่งจริง..ไม่นานก็จะมีนักเรียนมาเข้าแถวสมัครเรียนกันเต็มไปหมด ส่วนเรื่องของระบบการเงิน ในปัจจุบันโรงเรียนกวดวิชาชื่อดังทั้งหลายมักจะใช้วิธีให้ผู้ปกครองหรือนักเรียนไปโอนเงินพร้อมๆกัน เนื่องจากความต้องการที่นั่งเรียนสูงมาก เวลาเปิดให้โอนเงินได้ ก็จะมีผู้คนหลั่งไหลไปตามสาขาธนาคารที่ให้บริการนั้นๆ จากนั้นเม็ดเงินทุกบาททุกสตางค์ก็จะหลั่งไหลเข้าไปสู่บัญชีของเจ้าของโรงเรียนนั้นๆ…อย่างไม่ตกหล่นแม้แต่เศษสตางค์แดงเดียว

    สอง  การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด…ที่สามารถจัดการความเสี่ยงได้

    สมมุติว่าคุณเกษียณอายุในวันนี้พร้อมด้วยเงิน 10 ล้านบาท และคุณก็นำเงินทั้งหมดไปซื้อล็อตเตอรี ด้วยความหวังว่าจะถูกรางวัล ในที่สุด คุณก็ถูกรางวัลจริงๆ และได้เงินเพิ่มขึ้นเป็น 20 เท่า จากเงิน 10 ล้านบาทที่มีอยู่ก็กลายเป็นเงิน 200 ล้านบาท ตัวอย่างนี้ได้แสดงให้เห็นถึง การลงทุนโดยการซื้อล็อตเตอรีดังกล่าวนั้นไม่น่าจะมีโอกาสถูกรางวัลได้มากนัก และมีโอกาสที่จะสูญเสียเงินที่เก็บออมมาทั้งชีวิต 10 ล้านบาท นั่นแสดงให้เห็นว่า การลงทุนในลักษณะนี้เป็น  “การลงทุน….ที่ไม่สามารถจัดการความเสี่ยงได้”

    ถ้าเป็นเช่นนั้น…ก็เปลี่ยนใหม่ นำเงินไปฝากประจำที่ธนาคาร โดยได้ดอกเบี้ย 3% ได้รับดอกเบี้ยประมาณปีละ 3 แสนบาท หรือตกเดือนละ 25,000 บาท การลงทุนในลักษณะนี้…ความเสี่ยงต่ำมาก แต่ดอกผลที่ได้มาเดือนละ 25,000 บาท ก็ไม่รู้จะเพียงพอต่อการดำรงชีวิตหรือไม่?  ลักษณะนี้จึงเป็น

    “การลงทุน…ที่สามารถจัดการความเสี่ยงได้…แต่ไม่ดีที่สุด”

    แต่ถ้าหากคุณผู้อ่านนำเงินครึ่งหนึ่ง 5 ล้านบาทไปลงทุนซื้อตราสารหนี้บริษัทขนาดใหญ่หรือรัฐวิสาหกิจ และนำเงินอีกครึ่งหนึ่งคือ 5 ล้านบาทที่เหลือไปซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีฐานะการเงินดี โดยได้ผลตอบแทนรวมจากการลงทุนทั้งสองส่วนประมาณ 6%  โดยในปีแรกก็จะได้รับผลตอบแทน 600,000 บาท หรือตกเดือนละ 50,000 บาท การลงทุนในลักษณะนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็น

    “การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด…ที่สามารถจัดการความเสี่ยงได้”

     

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    1,780 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485036เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS