doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    4 มีนาคม 2557

    3,037 views

    5 เหตุผล… “เศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง” ตอนที่ 1

    พิมพ์หน้านี้

     

     

     

     

     

     

    คอลัมน์:  หุ้นส่วน ประเทศไทย

    5 เหตุผล… “เศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง”  ตอนที่ 1

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.facebook.com/DoctorweClub

    หลังจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่ได้ทำให้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย ก็ได้ส่งผลทำให้คนไทยจำนวนมากคิดว่า เศรษฐกิจไทยกำลังจะแย่แล้ว แต่ผมเองไม่ได้คิดเช่นนั้น ผมจึงได้พยายามหาข้อเท็จจริง ซึ่งพบว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงแข็งแกร่งอยู่ แม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2557 นี้จะไม่ดีนักก็ตาม โดยมีเหตุผลสนับสนุนเรื่องดังกล่าวอยู่ 5 ประการด้วยกัน ดังนี้ครับ

    หนึ่ง  เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับที่ดีมาก

    ในช่วงปี 2540 ประเทศไทยประสบกับวิกฤตต้มยำกุ้งจนทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign Exchange Reserves) ของประเทศไทยลดต่ำลงเหลือเพียงประมาณหมื่นกว่าล้านดอลลาร์เท่านั้น เงินทุนสำรองระหว่างประเทศนี้ก็เปรียบเสมือนเป็นเงินออมของประเทศไทย ที่จะแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีเงินเพียงพอที่พร้อมจะเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจต่างๆที่เกิดขึ้นได้หรือไม่?  ดังนั้น หากจะพิจารณาถึงความมั่นคงทางฐานะการเงินของแต่ละประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องไปพิจารณาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งผมจะพาคุณผู้อ่านไปดูเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยเปรียบเทียบกับประเทศที่สำคัญๆ

    จากตารางข้างต้น เราจะเห็นว่า ประเทศไทยมีเงินทุนสำรองสูงถึง 167,233 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นลำดับที่ 15 ของโลก เรามีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงกว่าประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา และมีเงินทุนสำรองมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันว่า  เงินออมที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย ยังมีมากมายเพียงพอที่จะประคับประคองเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ฝ่าฟันวิกฤตต่างๆได้อย่างมีเสถียรภาพ

    สอง  หนี้สาธารณะของประเทศไทย…อยู่ในระดับที่ต่ำมาก

    ในการวัดว่าประเทศมีหนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูงหรือต่ำนั้น โดยทั่วไปนักเศรษฐศาสตร์มักจะวัดจาก ปริมาณหนี้สาธารณะ (Public Debt) หารด้วย..มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (Gross Domestic Product – GDP)  และดูว่ามีอัตราส่วนที่สูงหรือไม่?  นอกจากนั้นยังต้องดูว่า หนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้สินภายในประเทศ หรือเป็นหนี้สินต่างประเทศ หากอัตราส่วนดังกล่าวสูงมาก และหนี้สินส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้สินต่างประเทศ ถ้าเป็นเช่นนั้น..ก็ย่อมส่งผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆอย่างร้ายแรง ผมจึงอยากพาคุณผู้อ่านมาดูหนี้สาธารณะของประเทศไทยเทียบกับประเทศอื่นซักหน่อยครับ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    จากตารางข้างต้น จะเห็นว่า ประเทศญี่ปุ่นมีระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงที่สุดในโลก โดยอยู่ในระดับที่สูงกว่า 200%  ขณะที่ประเทศกรีซมีระดับหนี้ดังกล่าวอยู่ในระดับที่ 2 คือประมาณ 160%  คำถามจึงเกิดขึ้นว่า เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นน่าจะดีกว่าประเทศกรีซ  แต่เป็นไปได้หรือที่..ญี่ปุ่นจะมีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงกว่าประเทศกรีซ ซึ่งกรีซในปัจจุบันน่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจหนักหนาที่สุดในโลก

    คำตอบก็คือ ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ใช้หนี้สินภายในประเทศหรือการกู้ยืมเงินภายในประเทศเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นและสิงคโปร์มีปัญหาไม่มากนัก ขณะที่กรีซจะกู้หนี้ยืมสินจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด ดังนั้น หากกรีซมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอยู่แล้ว และเจ้าหนี้ในต่างประเทศก็เรียกเงินกู้ของตนคืนจากรัฐบาลและภาคเอกชนของกรีซ กรีซก็อาจจะต้องเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงมิได้

    สหรัฐอเมริกา เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีปัญหาหนี้สาธารณะอย่างหนัก จนสภาคองเกรสของอเมริกามักจะแสดงความไม่เห็นด้วย เมื่อรัฐบาลอเมริกาต้องการจะกู้หนี้สาธารณะเพิ่ม นั่นเป็นเพราะ รัฐบาลสหรัฐอเมริกากู้เงินจำนวนมหาศาลจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศจีน ในทางกลับกัน ประเทศจีนมีหนี้สาธารณะน้อยมาก และยังมีเงินสำรองระหว่างประเทศสูงที่สุดในโลก จีนจึงเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีฐานะการเงินการคลังที่เข้มแข็งเป็นอย่างยิ่ง

    ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับเงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับ    ที่สูง ก็ทำให้ฐานะการเงินการคลังของประเทศไทยอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ หากผู้บริหารประเทศยังยึดแนวทางการบริหารการเงินการคลังในลักษณะที่ระมัดระวังต่อไป  เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยก็น่าจะยั่งยืนต่อไปได้ในระยะยาว

    วันนี้ เราได้คุยกันไปแล้วในหัวข้อ “5 เหตุผล… เศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง” ไปแล้ว 2 ประการ  พรุ่งนี้..ผมจะคุยให้คุณผู้อ่านได้อ่านส่วนที่เหลืออีก 3 ประการ พบกันใหม่วันพรุ่งนี้นะครับ  : )

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    3,037 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485040เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS