doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    28 พฤษภาคม 2557

    2,523 views

    โพสต์ทูเดย์: 21 วิธีคิด ที่ทำให้คนรวย…แตกต่าง ตอนที่ 2/7

    พิมพ์หน้านี้

     

     

     

     

     

     

    คอลัมน์:  หุ้นส่วน ประเทศไทย

    21 วิธีคิด ที่ทำให้คนรวย…แตกต่าง  ตอนที่ 2/7

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.facebook.com/DoctorweClub

    เราได้คุยกันเกี่ยวกับเรื่อง “21 วิธีคิด ที่ทำให้คนรวย…แตกต่าง” ไปแล้ว 3 วิธี วิธีการเหล่านี้อาจช่วยให้คุณผู้อ่านสามารถเปลี่ยนวิธีคิดหรือสร้างวิธีคิดใหม่ๆขึ้นมาได้ ในบทนี้ผมจะขอคุยให้คุณผู้อ่านเข้าใจเพิ่มขึ้นอีก 3 วิธี ดังนี้ครับ

    4) คนทั่วไปคิดว่า “การศึกษาเท่านั้น..ที่จะทำให้รวยได้”  แต่คนรวยคิดว่า “ประสบการณ์ต่างหาก…ที่จะทำให้รวยได้”

    คุณผู้อ่านรู้จักคนที่ชื่อว่า บิล เกตส์ (Bill Gates) ไหมครับ?  คุณผู้อ่านหลายท่านคงร้องออกมาเบาๆว่า..อ๋อ ใช่แล้วครับ..บิล เกตส์ คือ หนึ่งในมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก เจ้าของอาณาจักรเครือบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลกที่มีชื่อว่า..ไมโครซอฟท์ (Microsoft)

    บิล เกตส์ เป็นคนที่เรียนหนังสือเก่งมาก ในปี 2516 เขาทำคะแนน SAT ซึ่งเป็นการสอบเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาได้สูงถึง 1590 คะแนน จากคะแนนเต็ม 1600 คะแนน จึงทำให้เขาสามารถสมัครเข้าไปเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกได้

    ก่อนที่เกตส์จะเข้าฮาร์วาร์ดนั้น เขามีประสบการณ์ทางคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่อายุ 13 ปี เขาสามารถหารายได้จากความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ ซึ่งนี่อาจจะเป็นเหตุให้ตอนช่วงที่เกตส์เรียนอยู่ปีที่ 2 ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดนั้น เขาได้ใช้ประสบการณ์ของเขาหาเงินได้จากความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ได้เป็นจำนวนมาก และต่อมาเขาก็ทำเงินได้อย่างมหาศาลจากธุรกิจนี้ ซึ่งในที่สุดก็ทำให้เขาเลิกเรียนหนังสือที่ฮาร์วาร์ดไป จนถึงทุกวันนี้..เกตส์ก็ยังไม่ได้สำเร็จปริญญาตรีเลย

     

    5) คนทั่วไปมักจะคิดถึง..วันเก่าๆ  ส่วนคนรวยคิดถึงแต่..อนาคต

    สตีฟ จ็อบส์  เป็นชื่อที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี สำหรับคุณผู้อ่านบางท่านที่ไม่คุ้นเคย เราอาจต้องกล่าวถึง “ไอโฟน (iPhone)” โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มียอดขายทำลายสถิติโลกครั้งแล้วครั้งเล่า ไอโฟนและผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิ้ลอีกหลายตัว ได้แสดงถึงตำนานแห่งนวัตกรรมอันยิ่งใหญ่ของ
    จ็อบส์ ซึ่งแทบจะไม่มีใครในโลกจะมีความยิ่งใหญ่ได้เทียบเทียมกับเขาได้เลย

    จ็อบส์..เป็นเด็กกำพร้า เขาเติบโตมาได้ด้วยการเลี้ยงดูของครอบครัวบุญธรรมตระกูลจ็อบส์ จ็อบส์มักจะมีปัญหากับเพื่อนที่โรงเรียนตั้งแต่เด็กจนโต เขามักจะทิ้งการเรียนในวิชานั้นๆทันที..ถ้าเขาคิดว่ามันไม่ใช่ “ตัวเขา”  โดยเขาไม่เคยสนใจกับอดีตเลย ความคิดของจ็อบส์จะมุ่งตรงไปยัง “อนาคต” เท่านั้น

    ในปี 2519  จ็อบส์ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล.. Apple I และ Apple II  ซึ่งขายดีถล่มทลายไปทั่วโลก  ในปี 2521 จ็อบส์ได้ดึง จอห์น สกัลลีย์ (John Sculley) ซึ่งเป็น CEO ของเป๊ปซี่มาเป็น CEO ของแอปเปิ้ล ด้วยประโยคอมตะที่ว่า “คุณจะใช้เวลาที่เหลือของชีวิตกับการขายน้ำอัดลม หรือคุณอยากได้โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้”

    ในปี 2540  จ็อบส์ได้กลับมาเป็นผู้บริหารในแอปเปิ้ลอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้หัวสมองของจ็อบส์มุ่งคิดถึงแต่นวัตกรรมในอนาคตเท่านั้น เริ่มต้นด้วยการนำ ไอพอด (iPod) ออกมาจำหน่ายและมียอดขายถล่มทลาย ตามมาด้วยเกิดเปิด ไอจูนสโตร์ (iTune Store) ที่เป็นแหล่งขายเพลงออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตามมาด้วยไอโฟน ไอแพด และอีกหลายๆผลิตภัณฑ์ และได้ทำให้บริษัทแอปเปิ้ลได้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้ว แม้ว่าจ็อบส์…จะจากไป..อย่างไม่มีวันหวนกลับมาแล้วก็ตาม

     

    6) คนทั่วไปจะจัดการกับปัญหาเรื่องเงินด้วย..อารมณ์  แต่คนรวยจะจัดการกับปัญหาเรื่องเงินด้วย..สมอง

    ปัญหาเรื่องเงินน่าจะเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของคนจน สิ่งที่คนจนมักจะต้องเผชิญอย่างหลีกหนีไม่พ้นก็คือ บิลค่าใช้จ่ายสารพัดที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นปัญหาดังกล่าวจะยิ่งรุนแรงทวีคูณขึ้นไปอีกเมื่อ..มีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น แล้วก่อให้เกิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นไปอีก ทำให้เกิดปัญหารุมเร้ากระหน่ำซ้ำเติมเข้าไปที่ใจคนยากจนแทบจะทุกลมหายใจ

    สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ คนจนมักจะไม่คิดที่จะจัดการกับปัญหาโดยตรง คนจนมักจะเลือกที่จะจัดกับปัญหาด้วยอารมณ์ เช่น การบ่น การด่า การต่อว่า และการแสดงการโต้ตอบต่างๆในทางลบกับปัญหาหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ

    ในขณะที่คนรวยใช้ “สมอง” ในการจัดการกับปัญหาเรื่องเงินด้วยหลากหลายวิธี เช่น การลดค่าใช้จ่ายหรือการลดหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (Downsize)  การจัดการเคลียร์หนี้ทีละก้อน การรวบรวมหนี้ให้เป็นก้อนเดียว การเจรจาต่อรองหนี้กับเจ้าหนี้ การวางแผนการผ่อนชำระ และอีกหลากหลายวิธีที่จะจัดการกับปัญหาเรื่องเงิน ขอเพียงแต่คุณผู้อ่านเริ่มต้นด้วย “สมอง”  ทุกปัญหาเรื่องเงินก็สามารถจัดการได้

    เราได้คุยกันไปแล้วถึงวิธีคิดที่ทำให้คนรวย…แตกต่าง ไปกันแล้ว 6 วิธี คุณผู้อ่านสังเกตบ้างไหมครับว่า.. คนรวยมักจะมีวิธีคิดที่เป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง ไม่เหมือนใคร…และไม่มีใครเหมือน คุณผู้อ่านล่ะครับ…เริ่มเปลี่ยนวิธีคิดบ้างแล้วหรือยัง?

    เริ่มเปลี่ยนวิธีคิด…เสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้…อาจจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงในชีวิต ก็เป็นได้

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    2,523 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485040เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS