doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    12 กุมภาพันธ์ 2558

    2,494 views

    “ตลาดหุ้นลาว” โอกาสสำหรับ…คนลงทุนยาว

    พิมพ์หน้านี้

     

     

     

     

     

     

    คอลัมน์:  หุ้นส่วน ประเทศไทย

    “ตลาดหุ้นลาว”  โอกาสสำหรับ…คนลงทุนยาว

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.facebook.com/DoctorweClub

    ช่วงปลายปี 2557 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสนำคณะนักศึกษาโครงการ “กลยุทธ์การบริหารเงินลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนดีที่สุด” (CSi)  วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ไปดูลู่ทางโอกาสการลงทุนใน “ตลาดหุ้นลาว”

    รัฐบาลลาวได้เล็งเห็นความจำเป็นในการมี “ตลาดทุน” หรือ “ตลาดหุ้น”  เพราะลำพังเงินทุนในประเทศเท่านั้นซึ่งมีน้อยมากคงจะไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของลาวในระยะยาวได้ รัฐบาลลาวจึงต้องการให้มีตลาดหุ้นเพื่อที่จะสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนได้ จึงได้มีการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ลาวขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 (10-10-10)  ด้วยการลงทุนภายใต้สัญญาร่วมทุนระหว่าง ธนาคารแห่ง สปป. ลาว ถือหุ้น 51% และ ตลาดหลักทรัพย์เกาหลี ถือหุ้น 49%

    ทั้งนี้ รศ.ดร.เดดพูวัง มูลรัตน์ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป. ลาว ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น ประธานกรรมการและผู้อำนวยการใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์ลาว  รศ.ดร.เดดพูวัง ได้ตั้งเงื่อนไข 2 ข้อ ก่อนเข้ารับตำแหน่งในครั้งนั้นว่า ข้อแรก ตลาดหลักทรัพย์ลาว “ต้องเป็นเอกราช” หมายถึง ต้องมีอิสระในการคิดริเริ่มและในการดำเนินงาน และข้อสอง “ต้องมีการจัดหา Facilities ให้” เพราะปรารถนาให้ตลาดหลักทรัพย์ลาวเป็นอิสระจากทุกภาคส่วนเพื่อให้บริหารงานได้สะดวกขึ้น ซึ่งทางรัฐบาลลาวเห็นชอบ รศ.ดร.เดดพูวังจึงเดินเครื่องเต็มที่ กระทั่งตลาดหลักทรัพย์ลาวได้เปิดให้มีการซื้อขายหุ้นได้จริงตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2554 (11-01-11)

    ส่วนการซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นลาวนั้นมีความแตกต่างจากตลาดหุ้นไทยพอสมควร เนื่องจากปริมาณการซื้อขายหุ้นยังมีไม่มากนัก ดังนั้นจึงไม่สามารถเปิดให้เทรดออนไลน์เพื่อให้ระบบทำการจับคู่ให้โดยอัตโนมัติ (Online Automatic Matching) ได้ตลอดเวลาเหมือนอย่างบ้านเรา แต่ตลาดหุ้นลาวจะเปิดให้ซื้อขายเฉพาะวันจันทร์ถึงศุกร์ ยกเว้นวันปิดตลาด และวันหยุดราชการ ตามเวลาซื้อขายตั้งแต่ 8.30 น. ถึง 11.30 น. โดยระบบจะเปิดให้ทำการซื้อขายผ่านหลักทรัพย์ 6 ครั้งต่อวัน นั่นหมายถึง คำสั่งซื้อขายจะต้องมารอเป็นรอบๆ และจะจับคู่การซื้อขายหุ้นกันในเวลา 9.00, 9.30, 10.00, 10.30, 11.00 และ 11.30 น. รวม 6 รอบ

    ในปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว อยู่ 4 บริษัท คือ บริษัทผลิต-ไฟฟ้าลาว มหาชน (EDL-GEN),   ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว มหาชน (BCEL),  บริษัท ลาวเวิลด์ มหาชน (LWPC Lao World Public Company)  และล่าสุดคือบริษัท ปิโตรเลียมเทรดดิ้ง ลาว มหาชน หรือ (PTL)   โดยบริษัทจดทะเบียนทั้ง 4 แห่ง มีการดำเนินธุรกิจ ดังนี้ครับ

    บริษัท ผลิตไฟฟ้าลาว มหาชน (EDL-GEN)   …หนึ่งในฉายาของประเทศ สปป.ลาวก็คือ “Battery of Asean” เพราะสินค้าที่ลาวได้ส่งไปขายต่างประเทศได้ดีที่สุดนั้นก็คือ พลังงาน บริษัทแห่งนี้ได้ผลิตและขายไฟฟ้าให้ไทยและประเทศเพื่อนบ้าน รายได้และผลกำไรที่ออกมาก็เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในอนาคต หุ้นของบริษัทแห่งนี้จึงเป็นที่หมายปองของนักลงทุนเป็นจำนวนมาก

    ธนาคารการค้าต่างประเทศ (BCEL)  ธนาคารแห่งนี้ได้ดำเนินธุรกรรมอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2532  จึงนับได้ว่ามีความมั่นคงอย่างสูง ปัจจุบันนี้มีสาขา 18 แห่ง  สาขาย่อย 52 แห่ง ธนาคารแห่งนี้ยังร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์ เคทีซีมิโก้ ของไทย เปิดบริษัทหลักทรัพย์ชื่อ BECL-KT  เพื่อดำเนินการเป็นโบรกเกอร์ซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นลาวอีกด้วย

    กลุ่มบริษัท ลาวเวิลด์ (LWPC)  ซึ่งเป็นเจ้าของศูนย์แสดงสินค้า ลาว-ไอเทค ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2547  โดยนักธุรกิจชาวไทยที่มีชื่อว่า คุณศักดิ์ชัย วงศ์มาลาสิทธิ์ ด้วยเงินลงทุน 400 ล้านบาท พื้นที่กว่า 80 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงเวียงจันทน์

    บริษัท ปิโตรเลียมเทรดดิ้ง ลาว มหาชน (PTL)  ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านสถานีบริการน้ำมันครบวงจร และจัดจำหน่ายให้แก่ลูกค้าโดยตรง ภายใต้เครื่องหมายการค้า “PLUS” โดยมีสถานีบริการน้ำมันทั่วสปป.ลาว จำนวน 107 แห่ง และ มีคลังน้ำมันที่สามารถจัดเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงกว่า 3,610,000 ลิตร กระจายอยู่ทั่วสปป.ลาว

    ในมุมมองของผม ผมคิดว่าตลาดหุ้นลาวไม่เหมาะกับการเก็งกำไรเอาเสียเลย เนื่องจากการซื้อขายจะต้องเป็นเงินกีบเท่านั้น ทำให้นักลงทุนต้องประสบกับปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน นอกจากนั้นปัญหาเรื่องสภาพคล่องที่มีน้อยมากก็ยังจะส่งผลให้ราคาหุ้นขึ้นลงหวือหวาอย่างที่ไม่ควรจะเป็นอีกด้วย ด้วยเหตุนี้…ตลาดหุ้นลาว…จึงไม่น่าลงทุนน่ะสิ !!!

    ช้าก่อน… สิ่งที่ยังเป็นเสน่ห์ของตลาดหุ้นลาวก็คือ อัตราการจ่ายปันผลซึ่งสูงอยู่ในระดับ 7-10% ทีเดียว นอกจากนั้นหากเป็นหุ้นพลังงานอย่าง EDL-GEN ด้วยแล้ว นักลงทุนจำนวนมากยังคงให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะราคาพลังงานนับวันมีแต่จะราคาสูงขึ้น และค่าเงินกีบก็น่าจะมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพและแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจลาวที่อยู่สูงถึง 8% ทีเดียว

    คำถาม?….จึงไปอยู่ที่ หากคุณผู้อ่านลงทุนแล้ว จะเก็บไว้นานๆๆ ได้หรือไม่? ..เท่านั้นเอง

     

     

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    2,494 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485039เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS