doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    7 ตุลาคม 2558

    924 views

    เฟดขึ้นดอกเบี้ย ทำไม? เมื่อไร? ผลต่อไทย? ตอนจบ

    พิมพ์หน้านี้

     

    คอลัมน์:  หุ้นส่วน ประเทศไทย

    เฟดขึ้นดอกเบี้ย ทำไม? เมื่อไร? ผลต่อไทย?  ตอนจบ

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.facebook.com/DoctorweClub

    เมื่อวานนี้…. เราคุยกันไปแล้วถึงเรื่อง  “ทำไม?  เฟดต้องขึ้น…อัตราดอกเบี้ย”  และ “เมื่อไร?   เฟดจะขึ้น…อัตราดอกเบี้ย”  วันนี้จะขอคุยกันต่อเลยนะครับ  

    “เมื่อไร?   เฟดจะขึ้น…อัตราดอกเบี้ย”  (ต่อ)

    การที่ดัชนีดาวโจนส์ตกลงมามากกว่า 10% ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ข่มขวัญคณะกรรมการของเฟดเป็นอย่างยิ่ง จึงต้องกลับมาคิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน หากเกิดพลาดพลั้งขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว ตลาดหุ้นยิ่งย่ำแย่ลง และไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้ คณะกรรมการเฟดทั้งหมดอาจจะต้องกลายไปเป็น “จำเลยสังคม” รับผิดชอบต่อความตกต่ำของตลาดหุ้น

    อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ได้เริ่มฟื้นคืนกลับมาเกือบปกติแล้ว ในขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในจีนเองก็เริ่มจะอยู่ในสภาวะที่ควบคุมได้ สิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานี้คงจะทำให้คณะกรรมการเฟดมีความมั่นใจมากขึ้น ผมจึงไปค้นดูว่าเฟดจะมีการประชุมกันอีกเมื่อไร? ซึ่งพบว่า ปีนี้เฟดจะประชุมกันอีก 2 ครั้งคือ วันที่ 27-28 ตุลาคม และ วันที่ 15-16 ธันวาคม  เรา…ที่เป็นนักลงทุน…จึงต้องติดตามกันต่อไปนะครับ

    “ผลกระทบ…ต่อประเทศอื่นๆ และต่อประเทศไทย จะเป็นอย่างไร?”

    ภาพที่น่าจะเห็นได้ง่ายๆก็คือ หลังจากเฟดประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว แนวโน้มการลงทุนทั่วโลกจะมีความระมัดระวังมากขึ้น ตลาดหุ้นและตราสารทุนทั่วโลกจะเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ตามต้นทุนของเงินที่เพิ่มขึ้น นักลงทุนที่อ่อนไหวก็จะโยกเม็ดเงินไปหาแหล่งพักพิงที่ปลอดภัย (Safe Haven)  อันดับต้นๆก็คงจะเป็น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และบรรดาตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง เป็นต้น

    กลุ่มประเทศที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างแรงน่าจะเป็นกลุ่มประเทศที่เรียกว่า “กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market)”  ไม่ว่าจะเป็นประเทศในลาตินอเมริกา ยุโรปตะวันออก และอีกหลายๆประเทศในเอเชียรวมทั้งไทยด้วย ล้วนเป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ทั้งสิ้น ซึ่งก็จะต้องผจญกับปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “Capital Flight”  นั่นคือ ปรากฏการณ์ที่เงินทุนหรือทรัพย์สินจากต่างประเทศพากันไหลออกจากประเทศใดประเทศหนึ่งอย่างรวดเร็ว  ปรากฏการณ์ที่คุณผู้อ่านคุ้นเคยก็น่าจะเป็นเงินทุนต่างชาติไหลออกในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในช่วงปี 2540  แต่ในปัจจุบันเงินทุนหรือทรัพย์สินของต่างชาติจะไหลออกจากไทยไป ไม่ใช่เป็นเพราะเหตุผลว่า เศรษฐกิจไทยมีปัญหา แต่ไหลออกเพราะ ผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ของสหรัฐอเมริกาให้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจาก เฟดประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย

    ผลที่น่าจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยหลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยอาจแบ่งง่ายๆได้เป็น 2 กรณีคือ  กรณีแรก ขึ้นอัตราดอกเบี้ยประมาณ 25 basis points หรือเรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า ขึ้นอัตราดอกเบี้ยสลึงหนึ่ง ในกรณีนี้ผลกระทบน่าจะน้อย ตลาดหุ้นอาจจะแกว่งบ้างแต่ไม่น่าจะมากนัก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็น่าจะถึงเวลาที่จะผงกหัวขึ้น หลังจากอยู่ในภาวะขาลงมานานแล้ว บรรยากาศการลงทุนก็คงจะไปเรื่อยๆ   กรณีที่สอง เฟดประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่น้อยกว่า 50 basis points หรือขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าห้าสิบสตางค์นั่นเอง ผลกระทบคงแรง ตลาดหุ้นน่าจะแสดงปฏิกิริยาทางลบออกมาในอันดับต้นๆ ตามมาด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย และจะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์พลอยปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามไปด้วย

    “มองแง่ร้าย…กรณีเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรง”

    กนง.ของไทยคงต้องปรับอัตราดอกเบี้ยตาม ไม่เช่นนั้นก็จะยิ่งทำให้เงินทุนที่อยู่ภายในประเทศพากันไหลออกกันขนานใหญ่ หากภายในประเทศปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นไม่มากนัก เงินทุนก็ยังคงไหลออกมากอยู่ดี แต่ถ้าปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมาก บรรยากาศการลงทุนภายในประเทศก็คงจะแย่ลง เพราะต้นทุนของเงินลงทุนสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนตลาดหุ้นก็คงจะตกใจและดิ่งลงหาก้นไม่เจอ…หลังจากนั้นจึงเริ่มมีสติ และกลับมาเข้าสู่ราคาที่แท้จริงของมันอีกครั้งหนึ่ง

    หากเกิดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแรงจริงๆ ประเทศที่มีปัญหาทางด้านหนี้สาธารณะ ปัญหาเงินสำรองระหว่างประเทศต่ำก็จะมีปัญหาก่อน  เพื่อนบ้านที่ใกล้ๆตัวเราและคาดว่าจะมีปัญหามากก็คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย  เพราะประเทศเหล่านี้มีปัญหาที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ส่วนประเทศที่มีระบบการควบคุมเงินทุนเข้าออก (Capital Control)  โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV อันได้แก่ Cambodia, Laos, Myanmar และ Vietnam คงประสบปัญหาบ้าง แต่ไม่หนักหนาเท่ากับสามประเทศแรก   ส่วนไทยที่มีหนี้สาธารณะระดับประมาณ 50% ของ GDP   และมีเงินสำรองระหว่างประเทศประมาณ 5.5 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะต้องประสบปัญหา แต่ก็ไม่คงไม่หนักหนาเท่าหลายๆประเทศที่กล่าวไปแล้ว

    ท้ายนี้ สำหรับคุณผู้อ่าน…ที่เป็นนักลงทุน ผมคิดว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่น่าจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยแน่ๆ แต่ผมเองยังมองว่า จะไม่หนักหนาสาหัสซักเท่าไร ผมกลับมองว่า สิ่งที่จะทำให้เศรษฐกิจไทย…จะดีขึ้นมาได้ก็คือ “ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย” ของคนไทยด้วยกันเอง และเมื่อมีความเชื่อมั่นแล้ว ทุกคนจะกล้าลงทุน…กล้าซื้อสินค้า…และทุกๆอย่างจะดีขึ้นเองครับ

    โชคดีในการลงทุนนะครับ   : )

     

     

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    924 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485035เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS