doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    22 พฤศจิกายน 2559

    706 views

    ตลาดหุ้นไทย… “แมว 9 ชีวิต” ตอนจบ

    พิมพ์หน้านี้

     

    คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย

    หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ 

    ตลาดหุ้นไทย… “แมว 9 ชีวิต”  ตอนจบ 

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.CsiSociety.com

    Add Line:  @CsiSociety

    เมื่อวานนี้ เราได้คุยกันไปบ้างแล้วถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทย ในวันนี้ ผมจะขอพาคุณผู้อ่านมาคุยกันต่อเลย ดังนี้ครับ

    ปี 2544  เหตุการณ์วินาศกรรม 9/11 ในสหรัฐอเมริกา 

    เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544  เมื่อผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิลด์เทรด ในนครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา  เหตุการณ์นี้ได้สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก และส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกดำดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่าไม่เว้นดัชนีตลาดหุ้นไทยด้วย โดยพบว่าก่อนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดอยู่ที่ระดับ 330 จุด หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาปิดที่ระดับ 266 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลงประมาณ 19%

    ปี 2549  มาตรการสกัดกั้นค่าเงินบาทแข็งค่า ของธนาคารแห่งประเทศไทย

    เป็นเหตุการณ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการสะกัดกั้นค่าเงินบาท…แข็งค่า ซึ่งเป็นผลมาจากความกังวลที่ ธปท. ประกาศใช้มาตรการสำรอง 30% สำหรับการนำเข้าเงินทุนระยะสั้น การประกาศมีขึ้นในตอนเย็นของวันที่ 18 ธันวาคม 2549 หลังตลาดหุ้นปิดไปแล้ว

    จากนั้นเช้าวันที่ 19 ธันวาคม 2549  ทันทีที่ตลาดหุ้นเปิด…บรรดาหุ้นทั้งหลายก็ดำดิ่งลงทันทีโดยดัชนีติดลบกว่า 100 จุด ก่อนจะหยุดพักการซื้อขาย 30 นาที ตลาดปิดภาคเช้าติดลบไป 83 จุด ในภาคบ่ายตลาดรูดลงไปมากสุดถึง 142.63 จุด  และปิดตลาดที่ระดับ 622.14 ลดลง 108.41 จุด หรือ 14.84% ซึ่งเป็นดัชนีที่ปิดต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี ในวันนั้นเพียงวันเดียวมูลค่าตลาดหุ้นไทยลดลงไปกว่า 5 แสนล้านบาท

    ปี 2551  วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ 

    วิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมิรกาในปี 2551  เกิดจากการปัญหาการปล่อยกู้ที่ไม่มีคุณภาพในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตลาดทุนและตลาดเงินเป็นวงกว้าง โดยวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้ลุกลามจากสหรัฐอเมริกาไปสู่…ยุโรป …เข้าสู่เอเชีย …และกระจายออกไปทั่วโลก

    โดยตั้งแต่ต้นปี 2551 ต่างชาติเริ่มเทขายหุ้นในภูมิภาคเอเชียทิ้ง เพื่อนำเงินกลับไปพยุงบริษัทแม่ที่กำลังประสบปัญหา ความแรงของการเทขายยังมีอย่างต่อเนื่องเพราะความวิตกกังวลจากนักลงทุน การปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทยดังกล่าว ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องประกาศใช้เซอร์กิต เบรกเกอร์ เพื่อพักการซื้อขายหุ้นชั่วคราวในช่วงเดือนตุลาคมในปีนั้นถึง 2 ครั้ง หลังดัชนีหุ้นไทยร่วงลงแรงถึง 10% ภายในวันเดียว

    วันที่ 15 กันยายน 2551 สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา “เลแมน บราเดอร์ส” ขอยื่นล้มละลาย ส่งผลทางจิตวิทยาอย่างรุนแรงต่อตลาดหุ้นทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง และตลาดหุ้นไทยก็ได้ซึมซับรับพิษไปอย่างแสนสาหัสด้วยเช่นกัน โดยดัชนีมาแตะในระดับต่ำสุดที่ 380.05 จุด ในวันที่ 26 เดือนพฤศจิกายน ทั้งที่ในต้นปีเดียวกันนั้น ในวันที่ 2 มกราคม 2551 ดัชนีตลาดหุ้นยังปิดอยู่ที่ 842.97 จุด

    หลังจากนั้นมา ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2558 ดัชนีตลาดหุ้นไทยก็มีความผันผวนในแต่ละปีอยู่ในระดับที่สูงมาก ตามตารางด้านล่างนี้

     

    จากตารางจะพบว่า เราจะมีจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดรวมถึงวันที่เกิดเหตุการณ์นั้นๆขึ้น โดยในปี 2552 จะมีความผันผวนระหว่างจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดถึง 85.6%   และปี 2558 จะเป็นปีที่ความผันผวนต่ำที่สุดในรอบ 8 ปีนี้คืออยู่ที่ 21.9%    และเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนเราจึงนำเอาความผันผวนทั้ง 8 ปี มาหาค่าเฉลี่ย (Average) ซึ่งค่าที่ได้ออกมาคือ  ค่าเฉลี่ยความผันผวนทั้ง 8 ปี  =  42.39%

    นั่นหมายถึง ในทุกปีที่ดัชนีสูงขึ้นหรือลงมานั้น โอกาสความแตกต่างระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของดัชนีตลาดหุ้นในปีนั้นๆจะมีความแตกต่างน้อยที่สุดประมาณ 20%   ความแตกต่างเฉลี่ยอยู่ที่ 40%   เช่น  เรากะว่าดัชนีปีนี้จะขึ้นไปสูงสุดที่ 1,700 จุด  โอกาสที่เราจะได้จุดต่ำสุดที่ลดลงมา 20% ซึ่งดัชนีจะเหลือเพียง 1,360 จุด   หรือกะว่าดัชนีสูงสุดอยู่ที่ 1,600 จุด โอกาสที่เราะจะได้จุดต่ำสุดอาจจะลงมาถึง 1,280 จุด ก็น่าจะมีโอกาสสูงมาก เป็นต้น

    จนถึงบรรทัดนี้ เราได้คุยกันไปแล้วถึงวิกฤตการณ์ที่ได้ถาโถมกระหน่ำเข้าใส่ตลาดหุ้นไทยครั้งแล้วครั้งเล่า จนทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ตกต่ำลงถึงขีดสุดหลายต่อหลายครั้ง เหตุการณ์ต่างๆที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วนั้น ได้พิสูจน์แล้วว่า “ตลาดหุ้นไทย…ไม่มีวันตาย” อย่างแน่นอน

    นอกจากนั้น ตั้งแต่วันที่เปิดตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 จนถึงเวลานี้ก็เป็นเวลาเกือบ 40 ปีแล้ว จากดัชนีวันเปิดตลาดที่ 100 จุด มาถึงปัจจุบันอาจจะประมาณ 1,500 จุด  สมมุติว่าเราสามารถซื้อหุ้นที่มีราคาหุ้นขึ้นลงได้ตามดัชนีตลาด โดยลงทุน 1 ล้านบาทไปซื้อหุ้นเหล่านั้นตั้งแต่วันแรกที่เปิดตลาดและเก็บไว้จนถึงวันนี้ อะไรจะเกิดขึ้น?

    เงินก้อนนั้นก็กลายเป็นเงินจำนวน 15 ล้านบาทในวันนี้เงินลงทุน 1 ล้านบาท ในปี 2518 ผ่านไปประมาณ 40 ปี

    คิดเป็นการเติบโต 1,400% ภายในระยะเวลาประมาณ 40 ปี

    คิดเป็นผลตอบแทน 8.83% ต่อปี   ในขณะที่คุณฝากธนาคารได้เพียง 3% ต่อปีเท่านั้น

     

    ปัจจุบันมีกองทุนจำนวนมากมายที่มีการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเช่นเดียวกับดัชนีตลาด ซึ่งมักจะเรียกกันย่อๆว่า TDEX  ซึ่งอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่มีความรู้ไม่มากนัก แต่ต้องการได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากธนาคาร และต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงให้มากที่สุด อ่านถึงบรรทัดนี้แล้ว

    คุณผู้อ่าน ยังคิดที่จะ… “ฝากเงินในธนาคาร” อีกต่อไปหรือเปล่าครับ ?

     

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    706 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485129เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS