doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    17 มกราคม 2560

    879 views

    “บิทคอยน์” อีกหนึ่งการลงทุนที่…คุณต้องรู้ ตอนที่ 1

    พิมพ์หน้านี้

    คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย

    หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ 

    “บิทคอยน์”  อีกหนึ่งการลงทุนที่…คุณต้องรู้  ตอนที่ 1 

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.CsiSociety.com

    Add Line:  @CsiSociety

    เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2559  ทางชมรมนักลงทุนซีเอสไอ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดงานสัมมนาภาพยนตร์เรื่อง “The Rise and rise of Bitcoin”  โดยทางชมรมฯ ได้เรียนเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านบิทคอยน์ดังนี้

    - ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์ (ผมเอง) บรรยายก่อนฉาย  เกี่ยวกับความเป็นมาของ “บิทคอยน์”

    - ดร.ภูมิ ภูมิรัตน หนึ่งในกูรูด้านบิทคอยน์ และ ที่ปรึกษา กลต.

    - คุณท็อป จิรายุส  กรรมการผู้จัดการเว็บไซต์บิทคอยน์  www.coins.co.th

    - คุณจำรัส สว่างสมุทร   ผู้อำนวยการใหญ่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (CSI รุ่นที่ 9)

    ดำเนินรายการโดย  คุณจิรัฐิติ ขันติพะโล MJ.ปั๊บ  จากมันนี่แชนแนล  (CSI รุ่นที่ 10)

    เนื่องจากเนื้อหาในการสัมมนาครั้งนี้มีเป็นจำนวนมาก ผมจึงขอสรุปประเด็นสำคัญๆของการสัมมนา ดังนี้ครับ

    หนึ่ง  “บิทคอยน์” คืออะไร?

    บิทคอยน์ เป็นสกุลเงินดิจิตอล หรือที่เรียกกันว่า Cryptocurrency ซึ่งถูกประดิษฐ์โดยโปรแกรมเมอร์อัจฉริยะที่มีชื่อสมมติว่า Satoshi Nakamoto  ฟังชื่อก็คิดว่าเป็นคนญี่ปุ่น แต่เขาสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างดีมาก จึงไม่น่าจะใช่คนญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ก็ยังไม่รู้เลยว่า เขาคนนี้เป็นใคร?  ในระบบที่เขาคิดค้นขึ้นมานั้น บิทคอยน์จะทำหน้าที่เป็นระบบการจ่ายเงินหรือเป็นเงินดิจิตอล และมีระบบบล็อกเชน (Blockchain) ที่คอยทำหน้าที่บันทึกรายการโอนเงินดิจิตอลและยืนยันว่า รายการนั้นๆเกิดขึ้นจริงและถูกต้อง พูดมาถึงตอนนี้แล้ว คนผู้อ่านหลายท่านอาจจะเริ่มเวียนหัวเล็กๆ ผมจึงอยากพาคุณผู้อ่านไปดูมูลค่าของบิทคอยน์กันซักหน่อยว่า มูลค่าของบิทคอยน์เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง นับตั้งแต่วันที่มันปรากฏขึ้นมาบนโลกใบนี้

    ช่วงเริ่มแรกในปี 2552  ประมาณเดือนตุลาคมพบว่า อัตราแลกเปลี่ยนคือ 1,309 บิทคอยน์แลกได้ 1 ดอลลาร์เท่านั้น (1 บิทคอยน์แลกได้ 2.67 สตางค์..ไม่ใช่บาท)  ณ เวลาที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ราคาบิทคอยน์อยู่ที่ 906.23 ดอลลาร์ หรือ 31,718 บาทต่อหนึ่งบิทคอยน์  คิดเป็นเพิ่มขึ้นประมาณ 1.1 ล้านเท่าภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี อ่านมาถึงตรงนี้…คนผู้อ่านเริ่มสนใจบิทคอยน์บ้างหรือยังครับ?

     

    สอง  “บิทคอยน์” มีโอกาสที่จะอยู่รอดไหม?

    ปัจจุบันนี้ บิทคอยน์มีอายุกว่า 7 ปีแล้ว บิทคอยน์ได้ไต่ระดับราคาตั้งแต่แทบจะไม่มีค่า (เกือบเป็นศูนย์ดอลลาร์) จนไต่ระดับไปสูงถึง 1,216.73 ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2557  แต่ใช่ว่าทางเดินของราคาบิทคอยน์จะโรยไปด้วยกลีบกุหลาบมาโดยตลอด ปีต่อมาราคาก็ตกลงมาเหลือเพียง 400 ดอลลาร์ และในเวลานี้ก็อยู่ที่ประมาณ 900 ดอลลาร์ ดังกราฟที่แสดงด้านล่างนี้

      

                     กราฟแสดงราคาเป็นดอลลาร์ต่อหนึ่งบิทคอยน์ ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2553 จนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนี้ผมยังอยากพาคุณผู้อ่านไปดูคู่แข่งขันของบิทคอยน์กันหน่อย ในปัจจุบันน่าจะมีเงินสกุลดิจิตอลอยู่มากกว่า 1,000 สกุล โดยมีบิทคอยน์มีปริมาณการซื้อขายมากที่สุดดังตารางด้านล่างนี้

    ตาราง 10 สกุลเงินดิจิตอลที่มีมูลค่าสูงสุด ซึ่งมีบิทคอยน์นำมาเป็นอันดับหนึ่ง

    จากตารางจะเห็นได้ว่า บิทคอยน์มีมูลค่าการตลาดสูงที่สุดที่ประมาณ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ ในขณะที่อันดับสองคือ Ethereum มีมูลค่าเพียง 600 กว่าล้านดอลลาร์ ห่างกันมากกว่ายี่สิบเท่า และถ้าหากเอายอดมูลค่าการตลาดรวมของเงินสกุลดิจิตอลอันดับที่ 2-9 รวมกันจะได้ประมาณ 1,490 ล้านดอลลาร์ ก็เท่ากับประมาณ 10% ของมูลค่าการตลาดของบิทคอยน์เอง จึงอาจกล่าวได้ว่ามูลค่าการตลาดของบิทคอยน์เพียงสกุลเดียวก็มากกว่ามูลค่าการตลาดของทุกสกุลเงินดิจิตอลรวมกันแล้ว

    ดังนั้นด้วยความนิยมที่มีอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นแนวโน้มที่จะให้ความมั่นใจได้ว่า “บิทคอยน์” น่าจะเป็นเงินสกุลดิจิตอลที่จะมีโอกาสในการอยู่รอดได้มากที่สุด

     

    สาม  “ราคาบิทคอยน์” ในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

    Nakamoto ได้สร้างสถาปัตยกรรมของ “บิทคอยน์” ไว้อย่างรอบคอบ โดยกำหนดให้จำนวนของบิทคอยน์ทั้งหมดจะต้องมีจำนวนสูงสุดเพียง 21 ล้านบิทคอยน์  ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการปล่อยบิทคอยน์ออกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 16 ล้านบิทคอยน์

    ในขณะที่ปริมาณเงินทั่วโลกมีเพิ่มขึ้นอย่างล้นหลาม นับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (Quantitative Easing – QE) หลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2551 เพื่อมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เข้าขั้นโคม่า  พูดง่ายๆก็คือ การพิมพ์แบงก์ออกมามากขึ้นๆ เพื่อใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของตน และต่อมาก็สามารถแก้ไขปัญหาได้จริงๆ  จึงทำให้บรรดาประเทศอื่นๆที่มีปัญหาเศรษฐกิจเช่นกัน ต่างพากันคิดว่า QE เป็น “ยาวิเศษ”  และต่างก็พากันทำตามเป็นทิวแถว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มยูโรโซน ญี่ปุ่น และอีกหลายๆประเทศ จึงทำให้เกิดภาวะ “เงินล้นโลก” เพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณขึ้นไปอีก

    ในเชิงเศรษฐศาสตร์ เงินบิทคอยน์ที่อย่างไรก็ตามจะมีจำนวนสูงสุดได้แค่ 21 ล้านบิทคอยน์ ในระยะยาวเงินบิทคอยน์จึงมีแนวโน้มที่จะมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเงินหลายๆสกุลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล จากแนวทางในการแก้ไขปัญหาของหลายๆรัฐบาลในหลายๆประเทศในปัจจุบัน

    ที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือ ข้อสรุป 3 ข้อ ที่เกี่ยวกับ “บิทคอยน์” ในฐานะหนึ่งในการลงทุนที่คุณผู้อ่านควรจะศึกษาไว้ ซึ่งในวันพรุ่งนี้จะนำเสนอในตอนจบ จึงขอเชิญคุณผู้อ่านกรุณาอ่าน “บิทคอยน์”  อีกหนึ่งการลงทุนที่…คุณต้องรู้  ตอนจบ  ได้ในวันพรุ่งนี้นะครับ  …แล้วพบกันครับ

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    879 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485037เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS