- doctorwe.com - http://www.doctorwe.com -
โปรแกรม “หาหุ้น” ตอนจบ
Posted By ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์ On เมษายน 26, 2017 @ 4:38 pm In โพสต์ทูเดย์ | No Comments
คอลัมน์: “หุ้นส่วนประเทศไทย”
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
โปรแกรม “หาหุ้น” ตอนจบ
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
Add Line: @CsiSociety
เมื่อวานนี้ เราได้คุยกันไปแล้วว่า ทางชมรมนักลงทุน CSI วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดงาน “CSI Slow Life” ขึ้น โดยการเชิญเฉพาะพี่ๆนักศึกษาที่อาวุโสหน่อย และมีพฤติกรรมที่เรียนรู้แบบสโลว์ๆ…สบายๆ มาเรียนรู้โปรแกรมหาหุ้นตัวหนึ่งกัน ซึ่งเราได้คุยกันเกี่ยวกับโปรแกรมตัวนี้ไปแล้ว 2 หัวข้อด้วยกันคือ หนึ่ง โปรแกรมตัวนี้เป็น “โปรแกรมสแกนหุ้น” และสอง ฟังก์ชั่นแสกนหุ้นโดยใช้ข้อมูลพื้นฐานเด่นๆ วันนี้…จะขอคุยต่อเลยนะครับ…
สาม ฟังก์ชั่นสแกนหุ้นโดยใช้ข้อมูลด้านเทคนิคอล
ก่อนอื่น ขอทำความเข้าใจกับพี่ๆที่ไม่มีความรู้ทางด้านเทคนิคอลซักนิดหนึ่งครับว่า การหาหุ้นทางด้านเทคนิคอลนั้น จะไม่ดูข้อมูลพื้นฐานของหุ้นเลย ไม่ว่าจะเป็นงบการเงินเป็นอย่างไร ผู้ถือหุ้นใหญ่มีใครบ้าง หรือผลการดำเนินงานดีแค่ไหน แต่วิธีเทคนิคอลจะใช้ข้อมูลในอดีตของราคาหุ้นและปริมาณการซื้อขายมาเป็นหลัก ผสมผสานกับวิธีทางสถิติ โดยมีฟังก์ชั่นเด่นๆให้เรียนรู้ดังนี้ครับ
- EMA Cross Over จะเป็นการหาหุ้นโดยการใช้เส้นค่าเฉลี่ยของราคา เช่น เส้น EMA (5) ตัดเส้น EMA (10) แปลว่า เส้นค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น 5 วันล่าสุด ได้ตัดขึ้นไปชนเส้นค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น 10 วันล่าสุดไปแล้ว แสดงว่าในวันท้ายๆ ราคาหุ้นมีการดีดตัวขึ้นมาแล้ว ซึ่งเราเรียกฟังก์ชั่นนี้ว่า “5/10 EMA Bullish Cross Over” และในหมวดนี้ก็ยังมีฟังก์ชั่นเด่นๆอีกดังนี้
- RSI Signal หรือชื่อเต็มคือ Relative Strength Index ซึ่งเป็น Indicator ยอดฮิตตัวหนึ่ง การวิเคราะห์ RSI จะคำนวณค่าของ RSI ออกมา แล้วมาวาดเป็นกราฟ โดยจะมีการลากเส้น แนวนอนของค่า RSI = 70 และค่า RSI = 30 ไว้ด้วย ถ้ามีค่าเกิน 70 ก็แสดงว่า มีการซื้อหุ้นมากเกินไป และถ้าต่ำกว่า 30 ก็แสดงว่า มีการขายหุ้นมากเกินไป โดยมีฟังก์ชั่นเด่นๆเกี่ยวกับ RSI ดังนี้ครับ
สี่ ฟังก์ชั่นสแกนหุ้นแบบ “กูรูหาหุ้น”
โปรแกรมหาหุ้นตัวนี้ สามารถดัดแปลงข้อกำหนดต่างๆได้อย่างง่ายดาย จึงเป็นการเปิดโอกาสให้หลายๆคนนำไปดัดแปลงวิธีหาหุ้นกันเอาเอง ผมได้พบวิธีการหาหุ้นอยู่หัวข้อหนึ่งที่เรียกว่า “Buffett Decode” โดยวิธีสแกนหุ้นวิธีนี้ จะใช้หลักการการหาหุ้นของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มาใช้ ดังนี้ครับ
- ฟังก์ชั่น “Buffett Decode” มีหลายฟังก์ชั่นมากมาย เช่น
ห้า โปรแกรมหาหุ้น vs. วิธีการหาหุ้นแบบเดิม
วิธีดั้งเดิมที่ผมพูดถึงก็คือ การดูข้อมูลหุ้นจากอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ธุรกิจ และหนังสือต่างๆ พร้อมทั้งออกไปพูดคุยกับเพื่อนฝูงที่ชอบหาความรู้เกี่ยวกับหุ้น จากนั้นเมื่อหาหุ้นเจอแล้ว ก็เข้าไปดาวน์โหลดงบการเงิน หมายเหตุประกอบงบฯ รายงานประจำปี และอื่นๆมาศึกษา ซึ่งเสียเวลาเป็นอย่างมาก
ส่วนวิธีการหาหุ้นโดยใช้โปรแกรมสแกนหุ้น ถือว่าสามารถหาหุ้นได้อย่างรวดเร็วกว่าวิธีเดิมๆมาก จากตัวอย่างมากมายที่คุณผู้อ่านได้อ่านมาแล้ว นอกจากนั้นเรายังสามารถที่จะเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆ เช่น ปันผลไม่ต่ำกว่า 5% เปลี่ยนเป็น 7% หรือเท่าไรก็ได้ เป็นเวลา 5 ปี หรือ 10 ปี หรือนานเท่าไรก็ได้ โปรแกรมก็จะไปค้นหาหุ้นที่มีลักษณะตามที่เราต้องการมาให้
อย่างไรก็ตาม เมื่อค้นหาหุ้นมาได้แล้ว ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด ถ้าเรามีความต้องการที่จะลงทุนในหุ้นตัวนั้นๆอย่างจริงจัง จึงต้องไปวิเคราะห์งบการเงิน การประเมินราคาหุ้นด้วยวิธีต่างๆ และย้อนไปดูผลประกอบการในอดีตประกอบกันไปด้วย เราจึงหนีไม่พ้น…ที่จะต้องศึกษาในทุกวิธีการที่จะเหมาะกับตัวเราเองมากที่สุดนะครับ ตราบใดก็ตามที่เรายังคงมีเวลาที่จะทุ่มเทศึกษามัน
ทำให้นึกถึงคำพูดของ Samuel Smiles นักประพันธ์ชาวสก็อตที่เคยพูดไว้ว่า “Lost wealth may be replaced by industry, lost knowledge by study, lost health by temperance or medicine, but lost time is gone forever.” แปลตามความได้ว่า “ความร่ำรวยที่สูญเสียไปสามารถทดแทนด้วยความอุตสาหะ ความรู้ที่หายไปสามารถทดแทนด้วยการศึกษาหาความรู้ สุขภาพที่เสื่อมลงก็จะกลับฟื้นคืนมาได้ด้วยการควบคุมอารมณ์และโอสถ แต่เวลาที่หายไปนั้น…มันจะหายไปชั่วนิจนิรันดร์”
หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่ www.doctorwe.com
Article printed from doctorwe.com: http://www.doctorwe.com
URL to article: http://www.doctorwe.com/posttoday/20170426/6737
URLs in this post:
[1] www.CsiSociety.com: http://www.csisociety.com/
Click here to print.
Copyright © 2012 doctorwe.com. All rights reserved.