doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    25 กันยายน 2561

    702 views

    สงครามการค้า: เอาเงินลงทุนไปหลบ…ที่ไหนดี? ตอนที่ 1

    พิมพ์หน้านี้

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย

    หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์

    สงครามการค้า: เอาเงินลงทุนไปหลบ…ที่ไหนดี?  ตอนที่ 1 

    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

    www.CsiSociety.com

    Add Line:  @CsiSociety

    คุณผู้อ่านหลายท่านคงทราบกันดีแล้วว่า  สงครามการค้าที่ก่อขึ้นโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งกำลังระบาดกระจายไปทั่วโลก แต่กำลังส่งผลอย่างเข้มข้นกับประเทศคู่แข่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกของสหรัฐอเมริกานั่นคือ จีน เริ่มต้นด้วยวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา อเมริกาประกาศเพิ่มภาษีเป็น 25% ของสินค้าที่นำเข้าจากจีนมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 50,000 ล้านดอลลาร์ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา  ช่วงแรก 6 กรกฎาคม เก็บภาษีกับสินค้ามูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์ และช่วงที่สอง 23 สิงหาคม เก็บภาษีเพิ่มขึ้นกับสินค้าจากจีนอีกมูลค่า 16,000 ล้านดอลลาร์ เท่านี้ยังไม่จบ…ในวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาได้เริ่มเก็บภาษี 10% กับสินค้าที่นำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นอีกสูงถึง 200,000 ล้านดอลลาร์ และในวันที่ 1 มกราคม 2562…วันแรกของปีหน้า บรรดาสินค้าในกลุ่มนี้มูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์ จะถูกปรับการเก็บภาษีในอัตราจาก 10% เพิ่มขึ้นเป็น 25% ทันที

    ทางฟากฝั่งจีนก็ได้เริ่มต้นขบวนการแก้เผ็ดโดยใช้กลยุทธ์ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน”  เพิ่มภาษีเป็น 25% สำหรับสินค้ากลุ่มแรกมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์เช่นเดียวกับอเมริกา แต่ในสินค้ากลุ่มที่สองนั้น ทางจีนเริ่มเก็บภาษีในอัตรา 5-10% สำหรับสินค้ามูลค่า 60,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ซึ่งคาดว่าสงครามการค้าในครั้งนี้คงจะไม่หยุดง่ายๆ  แจ็ค หม่า เจ้าของกิจการอีคอมเมิร์ซระดับโลกที่มีชื่อว่า “อาลีบาบา” คาดการณ์ว่า สงครามการค้าครั้งนี้อาจจะยาวนานไปถึง 20 ปีก็เป็นได้

    ไม่ว่าสงครามการค้าครั้งนี้จะยาวนานขนาดไหนก็ตาม ก็จะมีทั้งผู้เสียประโยชน์และผู้ได้ประโยชน์เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัวไปทุกครั้ง ผมจึงอยากพาคุณผู้อ่านไปดูกันก่อนว่า ควรหลีกเลี่ยงและควรลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งทางด้านบวกและลบจากงานนี้ โดยในวันนี้…ผมจะขอพาคุณผู้อ่านไปดูกันก่อนว่าควรหลีกเลี่ยงการลงทุนประเภทใดบ้าง ดังนี้ครับ

    -          วอลมาร์ท ห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา บริษัทแห่งนี้ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าโดยตรง  วอลมาร์ทได้ยื่นเรื่องเพื่อให้รายการสินค้าบางชนิดไม่อยู่ในหมวดที่ต้องขึ้นภาษี เช่น เฟอร์นิเจอร์ ไฟคริสต์มาส อาหารสุนัข กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ เครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น แต่ในที่สุดก็ไม่ได้รับการตอบสนอง สินค้าข้างต้นต้องถูกเก็บภาษีอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ สหพันธ์ค้าปลีกแห่งสหรัฐอเมริกาได้ออกมาประเมินว่า ภาษี 25% ที่จะเก็บสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ ก็จะทำให้คนอเมริกันต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นปีละ 4,500 ล้านดอลลาร์ ขณะที่สินค้าประเภทกระเป๋าเดินทางและกระเป๋าถือจะทำให้ผู้บริโภคจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 1,200 ล้านดอลลาร์ ส่วนเครื่องซักผ้าซึ่งโดนภาษีเพิ่มขึ้นในอัตรา 20% ตั้งแต่ต้นปีมาแล้ว ทุกวันนี้ราคาเครื่องซักผ้าโดยเฉลี่ยก็ได้ขึ้นไปเกือบ 20% แล้วเช่นกัน  สำหรับวอลมาร์ทที่มียอดขายประมาณ 10% ของปริมาณสินค้าค้าปลีกทั้งหมดของอเมริกา โดยมียอดขายประมาณ 500,000 ล้านดอลลาร์ พบว่าสินค้ามูลค่าประมาณ 50,000 ล้านดอลลาร์นำเข้ามาจากจีน หรือมาจากธุรกิจของตนที่เข้าไปลงทุนในประเทศจีน

    -          แอปเปิ้ล  บริษัทแอปเปิ้ลมีสินค้าที่เป็นที่ต้องการสูงในตลาดเมืองจีน ไม่ว่าจะเป็นไอโฟน ไอแพด คอมพิวเตอร์ตระกูลแมค เป็นต้น คาดการณ์กันว่า รายได้ทั้งหมดของบริษัทจำนวน 144,000 ล้านดอลลาร์นั้น มียอดขายจากต่างประเทศคิดเป็น 62% ของยอดขายทั้งหมดของบริษัท และในยอดขายต่างประเทศทั้งหมดนั้น 30% มาจากจีน ปัญหาของแอปเปิ้ลไม่ใช่แค่เรื่องยอดขายเท่านั้น  แต่ยังคำนึงถึงปัญหาเรื่อง “ห่วงโซ่อุปทาน” หรือ Supply Chain ด้วย เพราะแอปเปิ้ลใช้ชิ้นส่วนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะจากหลายๆประเทศในเอเชียและจีน ดังนั้นหากสงครามการค้ายืดเยื้อและขยายวงไปกว้างมากกว่านี้ คงจะต้องกระทบสายการผลิตสินค้าของแอปเปิ้ลเป็นแน่ ซึ่งคงจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ยอดขายของแอปเปิ้ลลดลงไปบ้างแล้ว ในขณะที่ปี 2560 ที่ผ่านมา ยอดขายของแอปเปิ้ลเพิ่มขึ้นมาถึง 46% ทีเดียว

    -          ฟอร์ด มอเตอร์   ในปี 2560 ยอดขายฟอร์ดจากต่างประเทศมีมูลค่า 63,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นตกลงมา 17%  ยอดขายรถยนต์ฟอร์ดในย่านเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าไม่สูงมากนักโดยคิดเป็นประมาณ 10% ของยอดขายทั้งหมด  ดูจากภาพนี้อาจจะเห็นว่า ฟอร์ดคงไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากงานนี้ แต่ความเป็นจริงพบว่า มีรถยนต์ฟอร์ดบางรุ่นที่ประกอบในประเทศจีนนั่นคือ ฟอร์ด โฟกัส ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเผชิญกับกำแพงภาษีนำเข้าสูงถึง 25% ตามนโยบายของทรัมป์ ล่าสุด…ฟอร์ดประกาศยกเลิกการนำเข้าและการเปิดตัวรถยนต์ฟอร์ดรุ่นโฟกัสที่ผลิตในจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    -          โบอิ้ง  หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก  แน่นอนว่า…จีนและหลายประเทศในเอเชียคือตลาดขนาดใหญ่มหึมาของโบอิ้ง ดังนั้นเมื่อจีนโต้ตอบนโยบายภาษีของทรัมป์ ด้วยการประกาศขึ้นภาษีเป็น 25% สำหรับกลุ่มสินค้ามูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ จึงไม่น่าแปลกใจว่าจะต้องโดนเครื่องบินและชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องบินด้วย โบอิ้งเคยคาดการณ์ว่า อีก 20 ปีข้างหน้าจะขายเครื่องบินให้แก่จีนจำนวนไม่ต่ำกว่า 7,200 ลำ มีมูลค่าสูงถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ถ้าสงครามการค้ายืดเยื้อแล้วละก็…มันอาจจะเป็นได้แค่ความฝันเท่านั้น  ล่าสุด…พบว่ามีการโยกการสั่งซื้อเกิดขึ้นแล้ว โดยโยกการสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์ไปซื้อจากบริษัทแอร์บัส…คู่แข่งตัวฉกาจของโบอิ้งนั่นเอง

    และนั่นคือ บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า และอาจจะมีผลกระทบไปยังราคาหุ้นของบริษัทนั้นๆ นั่นยังไม่รวมถึงปัญหาที่เกิดจากห่วงโซ่อุปทานที่จะตามมาอีกมากมาย ผู้บริหารวอลมาร์ทได้ออกมาให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ตลาดจักรยานของอเมริกาต้องใช้ชิ้นส่วนจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 40 ชิ้นส่วน ภาษีที่ขึ้นมานี้ก็จะทำให้ราคาขายจักรยานของอเมริกาไม่สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้ทางวอลมาร์ทได้พยายามที่จะซื้อจักรยานจากผู้ผลิตชาวอเมริกัน แต่ก็ไม่มีเพียงพอแก่ความต้องการภายในประเทศ และถึงแม้ว่าภาษีของชิ้นส่วนจักรยานที่มาจากจีนจะถูกเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 25% ก็ตาม การซื้อจักรยานจากจีนก็ยังถูกกว่าการซื้อจักรยานที่ผลิตในอเมริกาเองอยู่ดี

    สำหรับบริษัทรถยนต์อย่างเยเนอรัล มอเตอร์ และฟอร์ด มอเตอร์นั้น เรื่องการย้ายการสั่งซื้อชิ้นส่วนจากเมืองจีนให้กลับมาซื้อที่อเมริกานั้นยิ่งเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ เรื่องของห่วงโซ่อุปทานเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก มันอาจจะต้องใช้เวลาหลายๆปี ในการที่จะแสวงหาผู้ผลิตชิ้นส่วนที่สามารถผลิตชิ้นส่วนออกมาได้อย่างมีคุณภาพ มีปริมาณเพียงพอ และในราคาที่ต้องการ ดังนั้นการเปลี่ยนการสั่งซื้อชิ้นส่วนต่างๆให้กลับมาซื้อที่อเมริกาแทน ในหลายๆกรณี…จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลย

    พรุงนี้  เราจะคุยกันต่อในเรื่อง สงครามการค้า: เอาเงินลงทุนไปหลบ…ที่ไหนดี?  ตอนจบ แล้วพบกันนะครับ

    หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่  www.doctorwe.com

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    702 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2485036เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS