doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    25 ตุลาคม 2561

    32,973 views

    DM, EM, FM ศัพท์ 3 คำที่…นักลงทุนต้องรู้จัก

    พิมพ์หน้านี้

    คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย
    หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
    DM, EM, FM ศัพท์ 3 คำที่…นักลงทุนต้องรู้จัก
    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
    http://www.CsiSociety.com
    Add Line: @CsiSociety

    คุณผู้อ่านเคยพบกับศัพท์คำนี้ไหมครับ…Emerging Markets หรือ EM ผมคิดว่าคุณผู้อ่านหลายท่านคงรู้จักกับศัพท์คำนี้เป็นอย่างดี ในขณะที่บางท่านเคยเห็นแต่ก็ไม่รู้ความหมายของมัน อันที่จริงแล้วศัพท์คำนี้และบรรดาพวกพ้องของมันคือ Developed Markets-DM (ตลาดพัฒนาแล้ว) และ Frontier Markets-FM (ตลาดชายขอบ) มีความสำคัญมากสำหรับคุณผู้อ่านที่เป็นนักลงทุน วันนี้…ผมจึงอยากมาอธิบายคำศัพท์เหล่านี้ เพราะในปัจจุบันการมองการลงทุนและเศรษฐกิจโลกให้เข้าใจได้ง่ายๆนั้น เรามีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจแนวคิดของบรรดาฝรั่งที่เป็นผู้เล่นในตลาดหุ้นทั่วโลก

    สำหรับการแบ่งกลุ่มตลาดหุ้นนั้น อาจกล่าวได้ว่ามีหลายสำนักที่เคยจัดกลุ่มตลาดหุ้นและให้คำนิยามมากมาย อาทิ BBVA Research, J.P.Morgan หรือแม้กระทั่ง Mastercard แต่หน่วยงานที่สามารถแบ่งกลุ่มตลาดหุ้นเหล่านี้จนประสบความสำเร็จและได้การยอมรับมากที่สุดคือ MSCI ซึ่งเคยเป็นหน่วยงานหนึ่งในบริษัท Morgan Stanley บริษัทวาณิชธนกิจระดับโลก แต่ปัจจุบันได้แยกตัวออกมาเป็นอิสระแล้ว ซึ่งได้แบ่งตลาดโลกออกเป็นกลุ่มๆดังตารางข้างล่างนี้

    จากตารางตลาดหุ้นทั่วโลกด้านบนนี้ จะมีกลุ่มตลาดหุ้นที่สำคัญอยู่ 3 ตลาดด้วยกันคือ ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (Developed Market-DM) ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Market-EM) และตลาดหุ้นชายขอบ (Frontier Market-FM) ซึ่งมีรายละเอียดของแต่ละกลุ่มตลาดหุ้น ดังนี้ครับ

    หนึ่ง กลุ่มตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (Developed Market-DM)
    ในส่วนตลาดหุ้นพัฒนาแล้วนั้นได้ครอบคลุมบรรดาตลาดหุ้นจำนวนมากมายจาก 24 ประเทศในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย ข้อดีของตลาดหุ้นพัฒนาแล้วก็คือ ในยามที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนมาก ก็มักจะเกิดการเทขายหุ้นในตลาดเกิดใหม่ (EM) และตลาดชายขอบ (FM) และนำเงินลงทุนกลับไปซื้อหุ้นในตลาดที่พัฒนาแล้ว (DM) นี้ เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของสองกลุ่มแรก

    จากรายงานเดือนกันยายนที่ผ่านมา MSCI World Index ที่เป็นดัชนีที่ชี้วัดตลาดหุ้น DM เกือบทั้งหมด และมีหุ้นอยู่ในดัชนีนี้สูงถึง 1,640 หุ้น โดยมีหุ้น 10 ตัวแรกที่มีน้ำหนักมากที่สุดอยู่ในอเมริกาทั้งสิ้น นำโดย Apple, Microsoft, Amazon, Facebook เป็นต้น และมีน้ำหนักของหุ้นตามประเทศดังนี้คือ สหรัฐอเมริกา 61.98% ญี่ปุ่น 8.52% อังกฤษ 6.07% ฯลฯ ที่สำคัญที่สุดก็คือ อ้างอิงจากดัชนีตัวนี้พบว่าให้ผลตอบแทนของกลุ่มตลาดหุ้นพัฒนาแล้วในปี 2560 ที่ผ่านมาสูงถึง 24.62%

    สอง กลุ่มตลาดหุ้นเกิดใหม่ Emerging Markets-EM
    กลุ่มตลาดหุ้นเกิดใหม่นี้ประกอบด้วยตลาดหุ้นในประเทศต่างๆรวมแล้ว 35 ประเทศ ซึ่งรวมทั้งตลาดหุ้นไทยก็อยู่ในกลุ่มนี้ โดยมีหุ้นชั้นนำของไทยติดเข้าไปหลายตัวด้วยกัน อาทิ PTT, CPALL, AOT, SCB, KBANK, ADVANC, SCC เป็นต้น ส่วนตัวดัชนีที่เป็นตัวชี้วัดกลุ่มตลาดหุ้นในตลาดเหล่านี้ก็คือ MSCI Emerging Markets Index ซึ่งพบว่า มีเพียงหุ้นจาก 24 ประเทศเท่านั้นที่สามารถผ่านด่านกฎเกณฑ์ต่างๆเข้ามาได้ โดยมีหุ้นจากบริษัท 1,151 แห่งที่มีคุณสมบัติพอที่จะถูกคัดเลือกเข้ามาอยู่ในดัชนีตัวนี้ กลับไปดูผลตอบแทนในปี 2560 ที่ผ่านมาพบว่าให้ผลตอบแทนสูงถึง 37.28% ซึ่งถือได้ว่าในปีที่แล้วบรรดาหุ้นจาก EM เหล่านี้ทำผลงานได้ดีกว่าบรรดาหุ้นในกลุ่ม DM ที่ทำให้ผลตอบแทนเพียง 24.62% ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว

    จากภาพจะเห็นได้ว่า หุ้นที่มีน้ำหนักมากที่สุด 10 อันดับแรกในดัชนีตัวนี้พบว่า มาจากจีนถึง 6 ตัว ซึ่งได้รวมหุ้นเทคโนโลยีจีน 3 ตัวดังนั่นคือ TENCENT, ALIBABA, BAIDU ไว้แล้ว มีไต้หวัน 1 ตัว เกาหลี 1 ตัว และจากอาฟริกาใต้ 1 ตัว สัดส่วนน้ำหนักหุ้นตามประเทศในดัชนีตัวนี้ก็พบว่า จีน 30.99% เกาหลีใต้ 14.88% ไต้หวัน 12.29% อินเดีย 8.53% ฯลฯ

    สาม กลุ่มตลาดหุ้น Frontier Market-FM (ตลาดหุ้นชายขอบ)
    ดัชนีในกลุ่มตลาดหุ้นชายขอบนี้ที่จัดทำโดย MSCI มีชื่อว่า MSCI Frontier Markets Index โดยดัชนีตัวนี้จะครอบคลุมถึงตลาดหุ้นใน 29 ประเทศ และมีหุ้นจากบริษัทเพียง 115 แห่งที่มีน้ำหนักในดัชนีตัวนี้ สำหรับหุ้นที่มีน้ำหนักมากที่สุด 10 อันดับแรกพบว่า มาจากคูเวต 3 ตัว เวียดนาม 2 ตัว อาร์เจนตินา 2 ตัว โดยน้ำหนักของหุ้นที่มากที่สุดแยกตามประเทศพบว่า คูเวต 21.5% เวียดนาม 16.85% อาร์เจนตินา 15.75% มอร็อคโค 7.94% ไนจีเรีย 6.82% ฯลฯ ในปี 2560 ที่ผ่านมา ผลงานของดัชนีตัวนี้อยู่ที่ 32.32% เมื่อเทียบกับดัชนีตลาดหุ้นเกิดใหม่ (EM) ที่ 37.28% และดัชนีตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (DM) ที่ 24.62% ก็ถือได้ว่าให้ผลตอบแทนที่ไม่เลวนัก แต่หากนำปัจจัยเรื่องความผันผวนเข้ามารวมด้วยแล้ว ตลาด EM ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

    และนั่นคือ กลุ่มตลาดหุ้น 3 กลุ่มที่คุณผู้อ่านควรรู้จัก โดยทั่วไปกองทุนใหญ่ๆหรือบรรดานักลงทุนสถาบัน มักจะลงทุนกระจายตามกลุ่ม DM, EM และ FM ตลาดเกิดใหม่ (EM) นั้นในช่วงระยะเวลา 10 – 20 ปีที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนที่สูงมาก จึงทำให้บรรดานักลงทุนเอาเงินลงทุนก้อนโตเข้ามาลงทุนในตลาดนี้เป็นจำนวนมาก สำหรับตลาดหุ้นประเทศไทยก็ทำผลงานได้ค่อนข้างดี และมักจะอยู่บนจอเรดาห์ของบรรดานักลงทุนเหล่านี้ โดยตลาดหุ้นไทยมักจะถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในกลุ่ม TIP ซึ่งย่อมาจาก Thailand, Indonesia และ Phillippines ท้ายนี้หวังว่าคุณผู้อ่านคงจะพอเข้าใจแนวคิดของบรรดาฝรั่งนักลงทุนรายใหญ่ที่จัดสรรเงินลงทุนให้ลงทุนกระจายออกไปทั่วโลกได้บ้างนะครับ
    ขอให้คุณผู้อ่านโชคดีในการลงทุนนะครับ
    หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่ http://www.doctorwe.com

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    32,973 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2489266เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS