doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    25 ธันวาคม 2561

    829 views

    “รู้อะไร ไม่สู้…รู้ดาต้า” ตอนที่ 1

    พิมพ์หน้านี้

    “รู้อะไร ไม่สู้…รู้ดาต้า” ตอนที่ 1

    คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย
    หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
    www.CsiSociety.com
    Add Line: @CsiSociety

    ผมได้มีโอกาสไปงานเปิดตัวหนังสือที่มีชื่อว่า “DATA for the PEOPLE” ซึ่งมีชื่อเป็นภาษาไทยว่า “รู้อะไร ไม่สู้…รู้ดาต้า”เขียนโดย Andreas Weigend ซึ่งเขาเองเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนสแตนฟอร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก และยังเคยทำงานในบริษัทแอมะซอน บริษัทช็อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ตีแผ่ความรู้ทางด้านดาต้าหรือข้อมูลที่ใช้ในโลกอินเทอร์เน็ตได้ดีมากที่สุดเล่มหนึ่งที่ผมเคยอ่านมา นอกจากนั้นเองผมยังได้พบกับผู้แปลหนังสือเล่มนี้ นั่นคือ คุณดาวิษ ชาญชัยวานิช ซึ่งได้พูดคุยกันอย่างสนุกปาก ผมจึงได้ขอให้คุณดาวิษช่วยสรุปเนื้อหาแบบง่ายๆของหนังสือเล่มนี้มาให้คุณผู้อ่านได้เข้าใจกัน ถึงความสำคัญของดาต้าในยุคดิจิตอลที่กำลังคืบคลานเข้ามาในชีวิตประจำวันของพวกเรา…มากขึ้นและ…มากขึ้น แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรจากมันบ้าง โดยคุณดาวิษได้สรุปเนื้อหาง่ายๆ…น่าอ่าน…และชวนติดตาม ดังนั้นเพื่อให้การถ่ายทอดได้อรรถรส จากนี้ไปจะเป็นบทสรุปของหนังสือเล่มนี้จากผู้แปลหนังสือเล่มนี้…คุณดาวิษ ชาญชัยวานิช นะครับ

    ตอนแรกที่เริ่มแปลหนังสือ Data for the People ในใจคิดว่าก็คงเป็นความรู้เกี่ยวกับบิ๊กดาต้าหรือวิทยาศาสตร์ข้อมูลทั่วๆไป ที่ไม่น่าจะแตกต่างจากข้อมูลในหนังสืออีกหลายเล่มหรือบทความอีกหลายพันบทความในหัวข้อเดียวกัน แต่ไม่ใช่เลยครับ เมื่อแปลไปเรื่อยๆก็ยิ่งอัศจรรย์ใจ เพราะได้ค้นพบทั้งความรู้ใหม่และแนวคิดใหม่ที่ทำให้ตระหนักว่าข้อมูลนั้นมีความสำคัญแค่ไหน อยู่ใกล้ตัวแค่ไหน พัฒนาก้าวกระโดดแค่ไหน และพวกเรากำลังใช้ชีวิตกันอย่างมืดบอดแค่ไหน…

    ความรู้และแนวคิดทั้งหมดนั้น ผู้แปลไม่สามารถสรุปออกมาสั้นๆให้เข้าใจกันอย่างครบถ้วนภายในพื้นที่กระดาษไม่กี่หน้าได้เลย ต่อให้มีพื้นที่กระดาษเท่าหนังสือต้นฉบับก็ไม่สามารถทำได้ (เพราะมีความรู้ไม่เท่าเทียมผู้เขียน) และต่อให้ใช้เวลาอีกเป็นสิบๆปีก็ไม่สามารถทำได้ คุณค่าทั้งหมดของหนังสือเล่มนี้จึงสามารถถ่ายทอดสู่ผู้อ่านได้เพียงด้วยวิธีเดียว คือการไปหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านด้วยตนเอง อย่างไรก็ดี ในฐานะนักแปล ผู้แปลยังพอจะสามารถยกตัวอย่างความรู้และแนวคิดพิสดารลึกล้ำเหล่านั้นได้บ้าง ดังนี้ครับ

    หนึ่ง เรากำลัง “สร้างข้อมูล” ออกมาตลอดเวลา
    ลองหยิบโทรศัพท์มือถือของคุณขึ้นมาดูสิครับ แล้วพิจารณาว่ามันมีเซนเซอร์(sensor) อะไรบ้าง อย่างน้อยๆที่สุดก็ต้องมีไมโครโฟน นอกจากนั้นก็มีเซนเซอร์รับสัญญาณจีพีเอส วายฟาย จีโอโลเคชั่น (เซนเซอร์บอกตำแหน่งโดยอิงกับภูมิศาสตร์โลก) เซนเซอร์พร็อกซิมิตี้ (อันนี้คือตัวรับสัญญาณที่ช่วยบอกโทรศัพท์ของเราว่าเรากำลังยกโทรศัพท์แนบแก้มแล้วนะ ให้ดับหน้าจอ touchscreen ได้แล้วนะ) แม็กนีโตมิเตอร์ (จับความเข้มของสนามแม่เหล็กโลก) บารอมิเตอร์ (ใช้วัดความดันบรรยากาศเพื่อคำนวณความสูงจากระดับน้ำทะเล) ฯลฯ นี่เป็นตัวอย่างเพียงส่วนเดียวเท่านั้น และที่สำคัญคือโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆก็จะมีจำนวนและประเภทของเซนเซอร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่สิ่งสำคัญที่คนเรามองข้ามไป นั่นคือ ทุกวันนี้เรากำลัง ‘สร้างข้อมูล’ ออกมาตลอดเวลา
    ลองนึกภาพคนสมัยก่อนนะครับ หากว่าคนๆหนึ่งอยาก publish (เผยแพร่) แนวคิดผ่านบทความสักบทความ เขาจะต้องไปติดต่อนิตยสารหรือสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น จะต้องผ่านกระบวนการคัดสรรเนื้อหาจากบรรณาธิการ ต้องผ่านการตรวจสอบ ซึ่งต่อให้ผ่าน บทความหรือแนวคิดนั้นก็จะถูกเผยแพร่แค่ในระดับท้องถิ่นเท่านั้น หรืออย่างมากก็ในระดับประเทศหากได้ตีพิมพ์กับนิตยสารชื่อดัง จะเห็นได้ว่า ‘การถ่ายทอดข้อมูล’ ในยุคก่อนทำได้ลำบากมาก แต่ในปัจจุบัน เราเพียงแค่เข้าเฟซบุ๊กแล้วพิมพ์สิ่งที่ต้องการแล้วกดโพสต์ เท่านี้บทความของเราก็ไปไกลทั่วโลกแล้ว และภายในพริบตาเดียวอีกด้วย ข้อมูลที่เราสร้างขึ้นไม่ใช่เพียงข้อเขียนที่เราเขียนแล้วโพสต์ หากแต่รวมถึงข้อมูลทั้งหมดทั้งมวลจากเซนเซอร์นานาชนิดที่อยู่ในโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียว

    ปัจจุบันเรากำลัง ‘สร้าง’ และกำลัง ‘จม’ อยู่ในข้อมูลที่เราสร้างขึ้นตลอดเวลา ยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อวัน เจ็ดวันต่อสัปดาห์ และสร้างขึ้นทั้งที่โดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ข้อมูลได้กลายเป็นเหมือนน้ำที่เราดื่มและอากาศที่เราหายใจไปแล้ว และสำหรับภาคธุรกิจ ข้อมูลได้กลายเป็นโภคภัณฑ์ที่หากมีไว้ก็สามารถสร้างรายได้มหาศาล

    สอง ข้อมูลปริมาณมหาศาลเหล่านั้นไปไหน?
    แน่นอนว่าก็ต้องไปสู่บริษัทที่มีคุณเป็นลูกค้าอยู่ บริษัททั้งหลายในปัจจุบัน(ไม่ว่าจะกลุ่มค้าปลีก ขนส่ง สายการบิน เว็บไซต์หาคู่ แอปพลิเคชั่นแนะนำร้านอาหาร ฯลฯ)ล้วนเก็บข้อมูลของผู้ใช้(user)ด้วยกันทั้งนั้น หนังสือเล่มนี้เรียกบริษัทเหล่านั้นว่า ‘โรงกลั่นข้อมูล’ ในลักษณะเดียวกับโรงกลั่นน้ำมันที่ขุดน้ำมันดิบขึ้นมากลั่นเป็นผลิตภัณฑ์ปีโตรเลียม 7 ชั้น แล้วนำผลิตภัณฑ์ปีโตรเลียมเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ อาทิ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเบนซิน น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเตา ยางมะตอย ฯลฯ

    สาม บริษัทเหล่านั้นนำข้อมูลไปทำอะไร?
    บริษัทเหล่านั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยอัลกอริทึม (algorithm) เพื่อกลั่นออกมาเป็นการแนะนำ(recommendation)ที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ใช้ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเราเข้าไปเลือกซื้อสินค้าในเว็บแอมะซอน(amazon) เว็บไซต์จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมทุกอย่างของเรา ตั้งแต่พฤติกรรมง่ายๆอย่างเช่นเราคลิกเข้าไปดูสินค้าชิ้นไหนบ้าง ไปจนถึงพฤติกรรมเชิงลึกเช่นเราอ่านรีวิวใดบ้าง เปิดอ่านนานแค่ไหน หลังอ่านรีวิวแล้วเราซื้อสินค้าหรือไม่ หรือหลังอ่านรีวิวแล้วเราคลิกไปยังสินค้าชิ้นไหนต่อ แล้วแอมะซอนก็นำข้อมูลทั้งหมดไปเปรียบเทียบกับข้อมูลพฤติกรรมของคนอื่นๆอีกมากมายที่คลิกดูสินค้าชิ้นเดียวกับคุณ จากนั้นอัลกอริทึมก็จะวิเคราะห์ออกมาว่าคุณ (และคนส่วนใหญ่) ที่คลิกดูสินค้านั้น…อ่านรีวิวนั้น มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าใด ครั้งต่อไปที่คุณเข้าเว็บ ระบบก็จะดันสินค้านั้นขึ้นมาแนะนำให้คุณ ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ใช้ด้วยความที่ในเว็บไซต์แอมะซอนมีสินค้าเป็นร้อยล้านพันล้านชิ้น หากไม่มีระบบแนะนำสินค้าเหล่านี้ คุณจะไม่มีทางหาสิ่งที่ตรงกับความต้องการของคุณที่สุดเจอได้เลย

    พบกับ “รู้อะไร ไม่สู้…รู้ดาต้า” ตอนจบ ได้ในวันพรุ่งนี้นะครับ แล้วพบกันนะครับ

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    829 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2489266เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS