doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    15 กุมภาพันธ์ 2562

    802 views

    ปี 2030 ญี่ปุ่น…เยอรมัน…เสื่อม อินเดีย…อินโด…โต ทำไม? ตอนจบ

    พิมพ์หน้านี้

    ปี 2030  ญี่ปุ่น…เยอรมัน…เสื่อม อินเดีย…อินโด…โต  ทำไม?  ตอนจบ

    คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย
    หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
    ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
    วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
    www.CsiSociety.com
    Add Line:  @CsiSociety

    เมื่อวานนี้ เราได้คุยกันไปแล้วว่า ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์
    เตอร์ ได้ออกรายงานเรื่อง “ปี 2030 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก” โดยการใช้ตัวเลข GDP PPP (Purchasing Power  Parity) ซึ่งเป็นค่าตัวเลขขนาดเศรษฐกิจที่นำไปปรับให้สัมพันธ์กับอำนาจซื้อและค่าครองชีพในแต่ละประเทศ ซึ่งผลที่ได้พบว่า จีนจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ตามมาด้วยอินเดีย สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ตุรกี บราซิล อียิปต์ รัสเซีย ญี่ปุ่น และเยอรมัน ตามลำดับ

    เรายังได้คุยกันเกี่ยวกับข้อสังเกต 2 ประการที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ข้างต้นคือ  หนึ่ง ถึงเวลาที่…ประเทศในตลาดเกิดใหม่…จะโต  และสอง  ประเทศมหาอำนาจเก่า…เริ่มเสื่อมลง  วันนี้จะขอคุยต่อเลยนะครับ

    สาม ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่…ต้องมีคนหนุ่มสาวเป็นหลัก
    จากรายงานของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ จะพบว่า ประเทศที่จะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ดีจะต้องเป็นประเทศที่มีจำนวนหนุ่มสาวในวัยทำงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็สอดคล้องกับแนวโน้มของประเทศที่จะเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในอนาคต

    อินเดีย…นับได้ว่าเป็นประเทศที่มีจำนวนหนุ่มสาวจำนวนมาก และมากพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวไปไกลในอนาคต ปัจจุบันคาดว่าอินเดียมีประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศหรือกว่า 600 ล้านคนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี  ประกอบกับอินเดียเริ่มมีการพัฒนาสาธารณูปโภคและระบบสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานจำนวนมาก อาทิ การประกาศสร้างห้องน้ำ 111 ล้านห้องภายใน 5 ปีของประธานาธิบดี Narendra Modi  การสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และการพัฒนา Smart City อีกหลายเมืองในอินเดีย เช่น บังกาลอร์

    สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เศรษฐกิจของอินเดียก้าวขึ้นมาติดอันดับต้นๆได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในปี 2030 เศรษฐกิจของอินเดียจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกาขึ้นมาเป็นอันดับที่สองของโลก ในขณะที่อินโดนีเซียที่มีประชากรกว่า 250 ล้านคน และด้วยอัตราการเกิดของทารกที่ 1.1%  ก็ทำให้จำนวนคนทำงานในวัยหนุ่มสาวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    สี่ ปรากฎการณ์ Urbanization แผ่ขยายอย่างรวดเร็วในประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโต
    เป็นที่คาดการณ์กันว่า อินเดียจะกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกในปี 2026  แซงหน้าจีน พร้อมๆกับปรากฎการณ์ Urbanization หรือที่เราเรียกกันว่า “สังคมเมือง” กำลังแผ่ขยายไปทั่วโลก แต่สำหรับอินเดียแล้วการขยายตัวของสังคมเมืองนับได้ว่าเติบโตแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียว จากการสำรวจในปี 1901 พบว่า ในอินเดียเองผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่เพียง 11%  พอมาปี 2001 เพิ่มขึ้นเป็น 28.53%

    แต่ที่น่าตกใจมากที่สุดตัวเลขจากธนาคารโลกพบว่าในปี 2030 อินเดียจะมีประชากรอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ๆสูงถึง 40.76% ของประชากรทั้งประเทศ นั่นหมายถึงมีประชากรมากกว่า 500 ล้านคนจะอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ของอินเดีย โดยมีเมือง Delhi เมืองหลวงของอินเดียที่มีประชากรกว่า 28 ล้านคน มาเป็นอันดับที่ 3 ของโลก

    ในขณะที่ Tokyo ยังคงรั้งอันดับที่ 1 เป็นเมืองที่มีผู้คนอาศัยมากที่สุดในโลกที่กว่า 38 ล้านคน  Jakarta ตามมาอันดับที่ 2 ด้วยประชากรกว่า 30 ล้านคน ดังกราฟด้านล่าง


    สถานการณ์ในอินโดนีเซียที่มีคนย้ายเข้าไปอยู่ในเมืองกลับพบว่า ยิ่งมากมายกว่าในอินเดียเสียอีก โดยในปี 2007 พบว่า คนอินโดนีเซียได้ย้ายเข้าไปอยู่ตามเมืองใหญ่สูงถึง 47.54%  พอมาถึงปี 2011 ก็เป็นครั้งแรกที่มีคนอาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าในชนบทเป็นครั้งแรก โดยคนที่ย้ายเข้าไปอยู่ในเมืองสูงถึง 50.6%   พอมาถึงปี 2017 คนอินโดนีเซียย้ายเข้าเมืองไปแล้วสูงถึง 54.66% ทีเดียว โดยเมืองใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซียก็คือ กรุง Jakarta  ที่ปัจจุบันมีชาวอินโดนีเซียอาศัยอยู่มากกว่า 30 ล้านคน และยังมีเมืองรองลงไปก็ยังคงมีผู้อพยพจากชนบทย้ายเข้าไปอย่างต่อเนื่อง อาทิ Surabaya, Bandung และ Bekasi

    สังคมเมืองในตุรกีก็ไม่แพ้ชาติอื่น ตุรกีเป็นชาติที่ประชากรชอบอยู่ในเมืองใหญ่ ในปี 2007 พบว่า ผู้คนอยู่ตามเมืองใหญ่ในตุรกีสูงถึง 69%  หลังจากนั้นอีก 10 ปีคือปี 2017 พบว่าตัวเลขขยับขึ้นไปสูงถึงกว่า 73% ทีเดียว เมื่อเกิดสังคมเมืองขึ้น ก็ทำให้เกิดกิจกรรมทางสังคมมากมาย และตามมาด้วยการใช้จ่ายเงินอย่างมหาศาล เศรษฐกิจก็จะหมุนเวียนได้ดี นั่นจึงเป็นสาเหตุว่า ประเทศใดที่ประชากรจำนวนมากอาศัยอยู่ในเมืองแล้ว ประเทศนั้นก็มักจะมีเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

    ห้า  การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ…เพื่อรองรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
    อาจกล่าวได้ว่า ประธานาธิบดี Modi ของอินเดียได้พยายามปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมในการนำพาประเทศให้มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ อินเดียเริ่มมีการนำภาษีที่เรียกว่า Goods & Service Tax (GST) ซึ่งคล้ายๆกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้ในบ้านเรา

    นอกจากนั้นก็มีการนำกฎหมายล้มละลายเข้ามาบังคับใช้อย่างจริงจัง ซึ่งทำให้กิจการที่กำลังจะล้มลายสามารถยื่นให้ศาลคุ้มครองกิจการ และเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ส่งผลให้รัฐบาลอินเดียมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล นี่ยังไม่รวมการปราบปรามคอร์รัปชันครั้งใหญ่ในปี 2016 โดยการยกเลิกธนบัตร 500 รูปี และ 1,000 รูปี และให้ไปใช้ธนบัตร 500 รูปี และ 2,000 รูปีแบบใหม่ ซึ่งได้ทำลายกระบวนการคอร์รัปชั่น และตลาดมืดทั่วอินเดีย

    ในอินโดนีเซีย ตั้งแต่ประธานาธิบดี Joko Widodo เข้ารับตำแหน่งนั้น งบประมาณด้านการก่อสร้างระบบพื้นฐานและสาธารณูปโภคก็ได้เพิ่มขึ้นครั้งมโหฬาร ในปี 2014 มีงบด้านนี้อยู่ที่ 177 ล้านล้านรูเปียห์ ขยับเพิ่มขึ้นเป็น 401 ล้านล้านรูเปียห์ในปี 2017  การก่อสร้างท่าเรือจำนวนมากทั่วเกาะต่างๆได้ดำเนินการขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการทุ่มงบประมาณในครั้งนี้คิดเป็นมากกว่า 2.5 เท่าของงบประมาณที่รัฐบาลมาเลเซียและสิงคโปร์รวมกันเสียอีก เป็นเพราะอินโดนีเซียมีเกาะมากกว่า 17,000 เกาะ ดังนั้นการขนส่งทางทะเลจึงเป็นหัวใจของอินโดนีเซียในการพัฒนาประเทศ

    ทางด้านตุรกีขณะนี้กำลังก่อสร้างสนามบินที่อาจจะเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกในนคร Istanbul เมืองที่ใหญ่ที่สุดของตุรกี ซึ่งจะพอรองรับผู้โดยสารจากทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 200 ล้านคนต่อปี และลานจอดเครื่องบินโดยสารไม่ต่ำกว่า 500 ลำ ตามมาด้วยการสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะทางกว่า 9,900 กิโลเมตร โดยเชื่อว่าเส้นทางรถไฟที่ยาวที่สุดในยุโรป และเป็นเส้นทางรถไฟที่ยาวที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากจีน การสร้างศูนย์สุขภาพที่เรียกว่า Healthcare Campus มูลค่ากว่า 20,000 ล้านดอลลาร์ในกรุงAnkara…เมืองหลวงของตุรกี

    และทั้งหมดนี้ก็คือ ประเทศที่จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2030  หวังว่าคุณผู้อ่านจะได้แนวความคิดไปใช้ในการลงทุนบ้างนะครับ แล้วพบกันใหม่นะครับ

    หาอ่านบทความ และความรู้ด้านการลงทุนของผู้เขียนได้เพิ่มเติมได้ที่  www.doctorwe.com

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    802 views  Comments

    Posted Under โพสต์ทูเดย์

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Leave a comment

    * = Required

    CAPTCHA Image
    Refresh Image
    *

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2489266เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS