doctorwe.com

Dr.Weraphong Chutipat   A Columnist

Fanpage 828_315
  • ล่าสุด
  • บทความ
  • แจกฟรี
  • การอบรม
  • ชม+ฟัง
  • ผู้เขียน


  • A A A
    • พ.ศ. :
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
    • 2558
    • 2557
    • 2556
    • 2555
    • 2554
      เดือน :
    • ม.ค.
    • ก.พ.
    • มี.ค.
    • เม.ย.
    • พ.ค.
    • มิ.ย.
    • ก.ค.
    • ส.ค.
    • ก.ย.
    • ต.ค.
    • พ.ย.
    • ธ.ค.

    2 กันยายน 2555

    3,182 views

    Fiscal Cliff -หน้าผาทางการคลัง จะเป็นวิกฤต…หรือไม่

    พิมพ์หน้านี้

    สวัสดีครับ   เพื่อนๆ พี่ๆ เฟสบุ๊ค

    พบกันใหม่ทุกๆวันเสาร์ และวันอาทิตย์

    วันนี้  ผมจะพาเพื่อนไปเที่ยว “อเมริกา”

    โดยจะคุยเรื่อง “หน้าทางการคลัง”

    ในตอน  “Fiscal Cliff  -หน้าผาทางการคลัง  จะเป็นวิกฤต…หรือไม่?”

     

    สำหรับเพื่อนๆที่สนใจข่าวสารใน “วงการหุ้น-การเงิน”

    คงเคยได้ยินคำว่า  “หน้าผาทางการคลัง” หรือ Fiscal Cliff

    แม้ว่าสิ่งที่เกิดนี้จะเกิดในสหรัฐอเมริกา เท่านั้น

    แต่มันอาจสร้างผลกระทบที่รุนแรงไปทั่วโลก

     

    ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่า….

    คำว่า Fiscal Cliff  หรือ หน้าผาทางการเงิน ใคร? เป็นคนพูดถึงคำนี้ก่อน

    ผู้ประดิษฐ์คำๆนี้ก็คือ นาย เบน เบอร์นันเก้

    ผู้ว่าธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา

    ดังนั้น คำๆนี้ เมื่อคุณเบน เป็นคนตั้งขึ้นมาเอง…  จึงมีความหมายเป็น..อย่างยิ่ง

     

    สำหรับ Fiscal Cliff หรือ หน้าผาทางการเงิน คืออะไร

    และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจหรือการลงทุนอย่างไรบ้าง?

    Fiscal Cliff   เป็นศัพท์ที่ใช้อธิบาย

    “สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในเวลานี้ของสหรัฐ”

    ซึ่งจะต้องประสบกับ เวลา..ที่มาตรการลดภาษี และ

    มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ…   กำลัง “หมดอายุ” กันหมด ในสิ้นปี 2555 นี้

     

    ดังนั้นเวลานี้….

    เมื่อเศรษฐกิจอเมริกา..ก็ยังไม่ดี

    แต่…บรรดามาตรการช่วยเหลือพากัน “หมดอายุ” ลง

    ก็อาจส่งผลให้ “เศรษฐกิจของสหรัฐ..กลับไปแย่..อีกครั้งหนึ่ง”

    หรือที่ฝรั่งเรียกว่า  “Double Dip Recession”

     

    หลังจากที่รัฐบาลนายบุช และนายโอบามา…

    ได้ออกมาตรการลดภาษี

    และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐไปอย่างมากมาย

    เวลานี้บรรดามาตรการดังกล่าว…ก็กำลังใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว

    และรัฐบาลก็ยังไม่มีมาตรการใหม่ๆออกมารองรับ

     

    โดยมาตรการที่กำลังจะหมดอายุลงนั้น ประกอบไปด้วย

    หนึ่ง  มาตรการลดภาษี การว่างงาน และการจ้างงาน หมดปีนี้ 2012

    สอง  มาตรการบรรเทาภาษีชนชั้นกลาง และการสร้างงาน   หมดปีนี้  2012

    สาม  มาตรการเก็บภาษีสวัสดิการสังคม  (จ่ายภาษีเพิ่ม)

    สี่       มาตรการลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ  (Sequestration)

     

    หากไม่มีการขยายระยะเวลาออกไป

    มาตรการช่วยเหลือทางด้านภาษี

    และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ

    ก็จะหมดอายุลง ภายในสิ้นปีนี้

     

    ในขณะเดียวกันมาตรการ “ร้ายๆ” อีกเป็นจำนวนมากมาย

    ก็จะหลั่งไหลกันออกมา

    ไม่ว่าจะเป็น..

    มาตรการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น สำหรับ..สวัสดิการการรักษา

    มาตรการตัดลดงบประมาณอย่าง “มโหฬาร”

     

    ในปัจจุบัน…..

    ยังไม่มีทีท่าว่ารัฐบาลสหรัฐ

    จะมีมาตรการใดใหม่ๆ

    ออกมาเพื่อทดแทนมาตรการเหล่านี้

     

    ในขณะที่  สหรัฐจะเริ่มบังคับใช้มาตรการใหม่ นั่นคือ

    มาตรการปรับลดงบประมาณภาครัฐ (Sequestration)

    ที่จะลดงบประมาณของตนเองลงประมาณ 8.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2556

    (Sequestration คือ มาตรการระยะยาวเพื่อ

    ลดรายจ่ายทางด้านการคลังลงประมาณ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเวลา 10 ปี

    โดยงบประมาณที่ถูกปรับลดราวครึ่งหนึ่งเป็นงบประมาณด้านกลาโหม)

     

    นอกจากนี้แล้ว มาตรการลดสวัสดิการแก่ผู้ว่างงาน

    ที่จะช่วยให้รัฐบาลสามารถลดรายจ่ายได้ลง 4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

    ก็กำลังจะหมดอายุลงในปี 2556 นี้ด้วย

    ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของคำถามที่ว่า

    หลังจากมาตรการภาษีเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจบลงแล้ว

     

    แต่สหรัฐกำลังจะตัดลดงบประมาณของตัวเองลง

    พร้อมๆกับต้องแบกรับภาระด้านสวัสดิการที่เพิ่มขึ้นไปด้วยพร้อมๆกัน

    สถานการณ์เช่นนี้จะมีผลทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐเดินไปในทิศทางใดนั่นเอง

    โดยหลายฝ่ายคาดว่า Fiscal Cliff ที่กำลังจะเกิดขึ้น

    จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นอย่างมาก

     

    รวมถึงจะมีผลทำให้อัตราการจ้างในประเทศสหรัฐปรับตัวลดลงอีกด้วย

    ซึ่งเปรียบเสมือนกับการตกจากหน้าผา

    หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือการเข้าสู่ภาวะหดตัวทางการคลังนั่นเอง

    ซึ่งนักวิเคราะห์ในตลาดคาดการณ์ว่าหากเกิด Fiscal Cliff ขึ้น

    จะมีผลทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ในปี 2556 อยู่ที่ระดับ 2.2%

    หรือขยายตัวได้ต่ำกว่าปัจจุบัน 1%

     

    ในขณะที่อัตราการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 10% จากระดับปัจจุบันที่ 8.3%

    นอกจากนี้แล้ว หากสหรัฐไม่มีการต่ออายุมาตรการภาษีออกไป

    จะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนลดลง

    เนื่องจากประชาชนต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น

    และยังจะมีผลทำให้ปริมาณเงินที่เคยหมุนเวียนอยู่ในมือประชาชนหายไปอีกด้วย

     

    ในสถานการณ์เช่นนี้

    อาจทำให้สหรัฐถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง

    และอาจส่งผลให้มีเงินไหลออกจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ

    รวมไปถึงสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ

    แล้วไหลเข้าสู่ประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือดีกว่า  และให้ผลตอบแทนสูงกว่า 

     

    ทั้งนี้ อุปสรรคในการแก้ปัญหานี้

    เกิดจากเหตุผลทางการเมือง

    เนื่องจากสหรัฐกำลังอยู่ในช่วงระยะเวลาของการเลือกตั้งใหม่ที่จะมีขึ้นในเดือน พ.ย. 2555 นี้

    สุญญากาศทางการเมืองในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง

    จะส่งผลทำให้การตัดสินใจใช้นโยบายต่างๆ เป็นไปอย่างล่าช้า

     

    และในท้ายที่สุดแล้ว

    สภาครองเกรสอาจไม่สามารถดำเนินมาตรการเพื่อหลีกเลี่ยงการตกหน้าผานี้ได้ทันเวลา

    หลังจากการเลือกตั้งเพียง 2 เดือน

    อีกทั้งพรรคการเมืองทั้ง 2 พรรค(เดโมแครตและรีพับลิกัน)

    ต่างก็มีนโยบายทางการคลังที่แตกต่างกัน

     

    ปัจจุบัน  ปัญหา “หนี้สาธารณะ” กลุ่มยูโรโซน

    ก็…  หนักหนา..แสนสาหัส กันอยู่แล้ว

    ถ้ามาเจอ ปัญหา “หน้าผาทางการเงิน” ของอเมริกา อีก

    ก็..ไม่แน่ใจว่า  เศรษฐกิจโลก ปีหน้า..จะเป็นอย่างไร ?

    เพื่อนๆ ละครับ  คิดว่า   ปีหน้า…  เศรษฐกิจไทย..จะดีไหม ?

     

    พิมพ์หน้านี้

    ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์

    3,182 views  119 Comments

    Posted Under การอบรม

    No Comments Yet

    You can be the first to comment!

    Sorry, comments for this entry are closed at this time.

      • 10 อันดับ
      • Facebook
      • Twitter

      บทความที่โพสต์ขึ้นเฟสบุ๊ค เมื่อคืนนี้เอาขึ้นเว็บแล้วนะครับสนใจคลิกที่... http://t.co/ylMslUNy

      follow me on
      twitter

    •  
    • Subscribe Email


       

    • Polls Sorry, there are no polls available at the moment.
    • Tag Cloud
      CSR GDP IMF กรีซ การลงทุน ครัวโลก ความรู้นักลงทุน ความเป็นอิสระทางการเิงิน คอร์รัปชัน ค่าแรง ตาน ฉ่วย ทองคำ ธนินทร์ เจียรวนนท์ น้ำท่วม 2554 บัตรเครดิต ประชาธิปไตย พม่า พื้นที่ทับซ้อน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยุโรป วิกฤตซับไพรม์ วิธีบริหารกองทุน วีรพงษ์ ชุติภัทร์ สหรัฐอเมริกา หนองหว้า หนี้สาธารณะ หมู่บ้านเกษตรกรรม หมู่เกาะสแปรตลีย์ หุ้น หุ้นแอปเปิ้ล หุ้นโกดัก อาเซียน อิสรภาพทางการเงิน อเมริกา เจริญโภคภัณฑ์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร เผด็จการ เล่นหุ้น เศรษฐกิจไทย แมคอินทอช แอปเปิ้ล โกดัก โซเวียต ไอเอ็มเอฟ ไอแพด 2
    • สถิติบล็อก
      • 2489639เข้ามาอ่านทั้งหมด:

    This site is using the Handgloves WordPress Theme
    Designed & Developed by George Wiscombe

    Subscribe via RSS